การบริหารโรงเรียนแห่งความสุขตามการรับรู้ของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
HAPPY SCHOOL MANAGEMENT AS PERCEIVED TEACHERS UNDER THE OFFICE OF SAMUT PRAKAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
Keywords:
การบริหารโรงเรียนแห่งความสุข, ผู้บริหารสถานศึกษา, การรับรู้ของครูAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข และ (2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนแห่งความสุขสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ และประสบการณ์การสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และ วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) การกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้ของครูเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (3) ครูที่มีวิทยฐานะต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (4) ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2024-09-04
Issue
Section
Articles