ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
DIGITAL LEADERSHIP PRIVATE EDUCATIONAL ADMINISTRATOR IN BANGPHLAT DISTRICT, BANGKOK
Keywords:
ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, โรงเรียนเอกชนAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 241 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติประมวลผลข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่าที (t-test for independent samples) ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA/ F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ จะนำไปทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากสูงที่สุดไปต่ำที่สุดคือ การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ( = 4.35) การสื่อสารด้านดิจิทัล การรู้ด้านดิจิทัล ( = 4.32) การมีวิสัยทัศน์ ด้านดิจิทัล การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ( = 4.31) และการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ( = 4.30) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า ภาพรวมของครูที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน ส่วนอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน Abstract This research aims to study the digital leadership private educational administrator in Bangphlat District, Bangkok and compare the digital leadership private educational administrator in Bangphlat District, Bangkok classified by gender, age, educational level and work experience. The sample group was a private school teacher in Bangphlat District Bangkok of 241 peoples in the academic year 2023. The tool used to collect this information was a questionnaire. Analyze the data by using package software, finding the mean, standard deviation, t-test for independent samples, and One-Way ANOVA/F-test) in case a statistically significant difference is found will be used to test pairwise differences. Using Scheffe's Method. The results were found as the following the digital leadership private educational administrator in Bangphlat District, Bangkok Overall and in each aspect is at a high level. Arranged from highest to lowest are Citizenship in the digital age ( = 4.35) Digital communication Digital literacy ( = 4.32) Having a digital vision creating a digital learning culture ( = 4.31) and professional work performance ( = 4.30), respectively. The results of comparing the digital leadership of school administrators found that Overview of teachers of different genders. There are different opinions on digital leadership among school administrators, as to their age, educational background, and work experience. There are no differences in opinions on digital leadership among school administrators.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2024-02-22
Issue
Section
Articles