การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
THE EXERCISE POWER OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING IN ADMINISTRATIVE AND MANAGEMENT OF PRIMARY SCHOOLS UNDER CHAINAT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
Keywords:
การใช้อำนาจ, ผู้บริหารสถานศึกษา, มาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำนวน 285 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและกำหนดสัดส่วนตามขนาดของสถานศึกษา โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นตัวแปรต้นเท่ากับ 0.92 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามของตัวแปรตาม คือ มาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียน เท่ากับ 0.92 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อำนาจตามกฎหมาย รองลงมา คือ อำนาจความเชี่ยวชาญ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ อำนาจการบังคับ 2. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ รองลงมา คือ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 3. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับมาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ อำนาจการอ้างอิง (X4) (r = .766) ส่วนตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำสุด คือ อำนาจการให้รางวัล (X1) (r = .171) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์มาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มีจำนวน 5 ตัวแปร คือ อำนาจการอ้างอิง (X4) อำนาจการบังคับ (X2) อำนาจความเชี่ยวชาญ (X5) อำนาจตามกฎหมาย (X3) และอำนาจการให้รางวัล (X1) ที่ร่วมกันทำนายมาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งตัวแปรทั้ง 5 ตัว สามารถอธิบายการผันแปรของมาตรฐานกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ได้ร้อยละ 67.00 (R2 = 0.67) สามารถเขียนสมการในรูปคะแนนดิบได้ดังต่อไปนี้ = 1.29 + 0.31 (X4) + 0.25(X2) + 0.09(X5) + 0.12(X3) + 0.04(X1) เขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังต่อไปนี้ = 0.44(Z4) + 0.28(Z2) + 0.14(Z5) + 0.19(Z3) + 0.08(Z1) Abstract The purposes of this research were to investigate and analyze to the exercise power of school administrators affecting in administrative and management of primary schools under Chainat Primary Educational Service Area Office. The sample was 285 teachers in primary schools under Chainat Primary Educational Service Area Office.It was obtained by stratified random sampling and proportional to the size of the school.The research instrument used in collecting the data were a five-point Likert scale questionnaire with content validity (IOC) range from 0.60 - 1.00 and reliability of independent varieable and dependent varieable at 0.92. Data were collected and analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis. The results of the study revealed that: The exercise power of the administrators of the primary schools under Chainat Primary Educational Service Area Office was at the high level in overall and individual aspects, legitimate power was the highest, expert power and coercive power was the lowest. The administrative and management of primary schools under Chainat Primary Educational Service Area Office was at the high level and individual aspects, to provide a physical environment and social that conducive to quality learning management was the highest, secondary was the development of teachers and personnel to have professional expertise. Academic development operations with emphasis on the quality of the learners according to the school curriculum and target groups were the lowest. The relation between the exercise power of the administrators of the schools and administrative and management of primary schools under Chainat Primary Educational Service Area Office found that was a positive correlation at a statistically significant at .01. The highest correlation coefficient variable was referent power (X4) (r = .766) and the lowest correlation coefficient variable was reward power (X1) (r = .171). The exercise power of the administrators which can predict the administrative and management of primary schools under Chainat Primary Educational Service Area Office. There were 5 variables consisted of: referent power (X4), coercive Power (X2), expert power (X5), legitimate power (X3) and reward power (X1) which predicted to the administrative and management of primary schools under Chainat Primary Educational Service Area Office at a statistically significant at .05. These variables able to explain the variation of the administrative and management of primary schools under Chainat Primary Educational Service Area Office by 67.00 percent (R2 = 0.67). The regression equation in raw scores was the following: = 1.29 + 0.31 (X4) + 0.25(X2) + 0.09(X5) + 0.13(X3) - 0.04(X1) The regression equation in standard scores was the following: = 0.44(Z4) + 0.28(Z2) + 0.14(Z5) + 0.19(Z3) – 0.08(Z1)Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-05-04
Issue
Section
Articles