การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี
TEAMWORK THAT AFFECTS ACADEMIC ADMINISTRATION OF SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA LOPBURI
Keywords:
การทำงานเป็นทีม, การบริหารงานวิชาการAbstract
บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีม กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การทำงานเป็นทีมที่สามารถทำนายการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่าค่า IOC ของแบบสอบถามมีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการทำงานเป็นทีมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การทำงานเป็นทีมแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ในภาพรวมมีระดับความสัมพันธ์กันในทางบวก ในระดับสูง ประกอบด้วยการไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารแบบเปิดเผย การสร้างความร่วมมือ เป้าหมายของทีม และการมีปฏิสัมพันธ์ โดยทุกด้านมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน พบว่า การทำงานเป็นทีมสามารถร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรตามได้ทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการสร้างความร่วมมือ(X3) ด้านเป้าหมายของทีม(X4) และด้านการมีปฏิสัมพันธ์(X5) ตามลำดับ โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ของการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = -.075 + .320(X3) + .419(X4) + .265(X5) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Abstract This descriptive research study aimed to 1) study the level of teamwork of schools under the Office of Secondary Education Service Area Lopburi. 2) study the level of academic administration of schools under the Office of Secondary Education Service Area Lopburi. 3) study the relationship between teamwork. and academic administration of schools under the Office of Secondary Education Service Area Lopburi. and 4) create teamwork forecasting equations that can predict academic administration of schools under the Office of Secondary Education Service Area Lopburi. The sample group consisted of 291 teachers under the Office of Secondary Education Service Area Lopburi. The research was a questionnaire with a 5 level estimation scale. It was found that the IOC of the questionnaire had a consistency between 0.80 - 1.00 and had a reliability value of 0.986. The statistics used in the research were: Descriptive statistics Pearson correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis. The results of the research were as follows 1) the level of teamwork of schools under the Office of Secondary Educational Service Area Lopburi Overall, it was at a high level. 2) The level of academic administration of the schools under the Office of Secondary Educational Service Area Lopburi in overall was at a high level. 3) Each aspect of teamwork is related. and academic administration of schools under the Office of Secondary Educational Service Area Lopburi Overall, there was a high level of positive relationship, consisting of mutual trust. open communication cooperation team goals and interaction All aspects had a statistically significant positive relationship at the .05 level. and 4) teamwork affecting academic administration of schools under the Office of Secondary Educational Service Area of Lopburi. By using stepwise multiple regression analysis, it was found that teamwork could jointly predict dependent variables in all 3 aspects, consisting of cooperation (X3), team goals (X4), and interaction (X5). respectively, with forecasting efficiency equal to 75 percent with statistical significance at the .05 level. The relationship forecasting equations of teamwork and academic administration of schools under the Office of Secondary Education Service Area Lopburi can be constructed as follows: Forecasting equation in raw score form. = -.075 + .320(X3) + .419(X4) + .265(X5) Forecasting equation in standard score form. = .350(Z3) + .305(Z4) + .253(Z5)Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-06-28
Issue
Section
Articles