ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
The Relationship between Managerial Skills of School Administrators and Academic Administration of School in Nikhompatthana Cluster under Rayong Primary Educational Service Area Office 1
Keywords:
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารวิชาการของสถานศึกษาAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษา 1) ระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู 2) ระดับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 162 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากนั้นใช้วิธีการจับสลากจากประชากรทั้งหมด 12 โรงเรียน เพื่อให้ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 162 คน ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นของทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา 0.96 และค่าความเชื่อมั่นการบริหารวิชาการของสถานศึกษา 0.95 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านการสื่อสารที่ดี 2) ระดับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การนิเทศการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การบริหารหลักสูตรและการนำไปใช้ การวัดผล การประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาสื่อ และเทคโนโลยีทางการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 Abstract The purposes of this research were to study: 1) the level of managerial skills of school administrators, 2) the level of academic administration of school, and 3) relationship between managerial skills of school administrators and academic administration of school in Nikhompatthana Cluster under Rayong Primary Educational Service Area Office 1. The samples consisted of 162 teachers in Nikhompatthana Cluster under Rayong Primary Educational Service Area Office 1, Year 2021. The teachers were obtained by using simple random sampling then a simple random sampling was done by drawing lots from 12 schools to obtain the sample size of 162 teachers. The instruments used for data collection were 5 point-rating scale questionnaires with the accuracy rate between 0.60-1.00; and the reliability rate of managerial skills of school administrators was at 0.96 and the reliability rate of academic administration of school was at 0.95. The data analysis was done by mean, standard deviation and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The results were as follows 1) The level of managerial skills of school administrators in Nikhompatthana Cluster under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 as a whole was at high level. When considering each individual aspect, the research found to be at high level in all aspects by descending order of the average as follow; conceptual skills, technical skills, human skills, and communication skills. 2) The level of academic administration of school in Nikhompatthana Cluster under Rayong Primary Educational Service Area Office 1 as a whole was at high level. When considering each individual aspect, the research found to be at high level in all aspects by descending order of the average as follow; education supervision, curriculum development and management, educational measurement and evaluation, media development and educational technology, and teaching and learning management. 3) There was a statistically significant very high positive relationship at 0.01 level between managerial skills of school administrators and academic administration of school in Nikhompatthana Cluster under Rayong Primary Educational Service Area Office 1.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-06-28
Issue
Section
Articles