การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
CONFLICT MANAGEMENT AFFECTING THE FFECTIVENESS OF EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER NAKHON SAWAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Keywords:
การจัดการความขัดแย้ง, ประสิทธิผล, การบริหารสถานศึกษาAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2, 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2, 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ4) สร้างสมการพยากรณ์ ของการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 310 คน ซึ่งได้มาจากการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามแนวคิดของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan,1970: 607-610 อ้างถึงในบุญชม ศรีสะอาด, 2543: 58) [1] จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้นและการกำหนดสัดส่วน (Stratified Random Sampling) ตามขนาดของสถานศึกษาและ ทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างครบตามจำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.993 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 5 ด้านมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรตามได้ทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการยอมให้ (X5) ด้านการประนีประนอม (X3) ด้านการร่วมมือ (X2) ด้านการเอาชนะ (X1) ด้านการหลีกเลี่ยง (X4) ตามลำดับ โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 42.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 Abstract The purposes of thesis were 1) to conflict management of administrators in educational institutions under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area office 2, 2) to study the effectiveness of educational institutions under Nakhonsawan Primary Educational Service Area Office 2, 3) to studies the relationship between conflict management of administrators and effectiveness of educational institutions under Nakhonsawan Primary Educational Service Area Office 2 and 4) to create predictions from conflict management of administrators affecting the effectiveness of educational institutions under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area office 2. The sample group was 310 teachers under Nakhonsawan Primary Educational Service Area Office 2. Which was derived from opening the sample size table, according to the concept of Krejcie and Morgan (Krejcie and Morgan, 1970: 607-610 referred to in Boonchom Srisaard, 2000: 58), then stratified random sampling and proportional sampling were performed according to Size of the school and simple random sampling (Simple Random Sampling) to obtain a complete sample of 310 people. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire; IOC was between 0.60 - 1.00 and α = 0.993 Data were analyzed in terms of means, standard deviation, Pearson,s Product Moment Correlation Coefficient; r and Stepwise Multiple Regression Analysis. The results was found that: 1. The overall of conflict management of administrators in educational institutions under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area office 2 were at a high level. 2. The overall of the effectiveness of educational institutions under Nakhonsawan Primary Educational Service Area Office 2 were at a high level. 3. The conflict management of administrators and effectiveness of educational institutions under Nakhonsawan Primary Educational Service Area Office 2 was a moderate positive relationship significantly at 0.01 level. 4. The conflict management of administrators of can predict dependent variables in all 5 areas, namely, allowing (X5), compromising (X3), cooperation (X2), overcoming (X1), and avoid (X4), respectively, with a forecast efficiency of 42.00 percent, with a statistically significant .01 level. Create a forecast equation as follows.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-06-28
Issue
Section
Articles