แนวทางการบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2

BUDGET MANAGEMENT GUIDELINES FOR EDUCATION OF PHICHIT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

Authors

  • ทินกร พูลพุฒ

Keywords:

การบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Abstract

บทคัดย่อ             วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 และเพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษาของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 306 คน ได้มาจากการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิด Krejcie and Morgan (1970) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) แต่ละข้ออยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ .907 และคู่มือการประชาพิจารณ์แนวทางการบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) และค่าเฉลี่ย(Arithmetic mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน(Standard deviation) ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษาโดยรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการกำหนดนโยบาย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการติดตามประเมินผลการบริหารงบประมาณ เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า (1.1) ด้านการกำหนดนโยบาย ภาพรวม มีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการปฏิบัติด้านนโยบายการบริหารงบประมาณสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด อยู่ในระดับมาก (1.2) ด้านการจัดตั้งจัดสรรงบประมาณ พบว่า ภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การปฏิบัติด้านการจัดเรียงลำดับข้อมูลในการเสนอของบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และการกำหนดระยะเวลาการเสนอของบประมาณเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด  (1.3) ด้านการบริหารงบประมาณ พบว่า ภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การกระจายอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และระยะเวลาในการก่อหนี้ผูกพันเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (1.4) ด้านการติดตามประเมินผลการบริหารงบประมาณ ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และมีการนำผลการติดตามมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการบริหารงบประมาณ      มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (2) แนวทางการบริหารงบประมาณเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ โดยแต่ละองค์ประกอบให้ความสำคัญในการปฏิบัติดังนี้ ด้านการกำหนดนโยบาย ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ด้านการจัดตั้งจัดสรรงบประมาณ ควรกำหนดปฏิทินดำเนินการที่ชัดเจน ด้านการบริหารงบประมาณ ควรกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการบริหารงบประมาณที่ชัดเจน และด้านการติดตามประเมินผลการบริหารงบประมาณ ควรจัดทำแผนกำกับติดตามประเมินผลที่ชัดเจน ABSTRACT             The purpose of this research has an objective. To study the state of budget management for education of Phichit Primary Education Area Office 2. And to present guidelines for managing budgets for education of Phichit Primary Education Area Office 2. The sample group studied was 306 people. Derived from the opening of the conceptual sample size table Krejcie and Morgan (1970)[1] The research tool was a 5-point rating scale opinion survey. Each item of consistency (IOC) was between 0.60 -1.00 and has                a confidence value of .907. And a manual for public hearings on how to manage budgets for education. The statistics used in the research were: Frequency, Percentage, Arithmetic mean and Standard deviation. The research results found that (1) Budget management for education as a whole. The performance results were at a high level. The aspect with the highest mean was Policy setting and The side with the lowest average was the monitoring and evaluation of budget management. When analyzing side by side, it was found that (1.1) Policy formulation overview. The performance results were at a high level. When considering item by item, it was found that performance results of budget management policies can be put into action, has the highest average. And analysis of the problems and needs of educational institutions, has the lowest average at a high level. (1.2) Budget setting found that. Overall, the performance was at                    a high level. When considering item by item, it was found that. The practice of organizing information in budget proposals, has the highest average. And determining the timeline for proposing a budget request is appropriate, has the lowest average. (1.3) In terms of budget management, it was found that. Overall, the performance was at a high level. When considering item by item, it was found that. Decentralization of budget management is appropriate, has the highest average. And the timing of creating debt obligations is appropriate, has the lowest average. (1.4) Monitoring and evaluating the results of budget management, The results of the study found that. Overall, the performance was at a high level. When considering item by item, it was found that. Budget management guidelines are clarified, has the highest mean. And follow-up results are used as information for budget management planning, has the lowest average. (2) Budget Management Guidelines for Education Consists of 4 Components. In which each component places importance on the following practices: Policy setting, There should be a clear policy setting committee. Budget setting, A clear calendar of action should be set. Budget management, There should be a clear timeline for budget management. And Monitoring and evaluating the results of budget management, There should be a clear supervision, monitoring and evaluation plan.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-06-28