บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Authors

  • วาทิน สินชู
  • ผศ.ดร.สุดารัตน์ สารสว่าง
  • ดร.วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง

Keywords:

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 4) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 205 คน โดยกำหนดตามตารางสำเร็จของ Krejcie & Morgan [1] จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยจับสลากจำนวนครูตามสัดส่วนของประชากรในโรงเรียน เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นของบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.963 และค่าความเชื่อมั่นของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เท่ากับ 0.964 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการประเมินผล และรายงานผล ด้านการกำกับ นิเทศ และติดตามผล ด้านการประสานงาน และด้านการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากร 2) การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งเสริมพัฒนานักเรียน และการส่งต่อนักเรียน 3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = 0.999 และ 4) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านร่วมกันการพยากรณ์การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ร้อยละ 87.10 โดยบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการ มีอำนาจการพยากรณ์สูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการประสานงาน ด้านการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากร ด้านการประเมินผล และรายงานผล และด้านการกำกับ นิเทศ และติดตามผล ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-10-16