การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร
Keywords:
การทำงานเป็นทีม, การดำเนินงานของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานครAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการทำงานเป็นทีม 2) ศึกษาระดับของการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ 4) ศึกษาการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 361 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้น จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย โดยจับฉลากตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียนเพื่อให้ได้จำนวนครบตามกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นของการทำงานเป็นทีมเท่ากับ .98 และค่าความเชื่อมั่นของการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับของการทำงานเป็นทีม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ระดับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การทำงานเป็นทีมในด้านทีมข้ามสายงานมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.97 รองลงมาการทำงานเป็นทีมในด้านทีมเสมือนจริงมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.94 รองลงมาการทำงานเป็นทีมในด้านทีมบริหารตนเองมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.93 และการทำงานเป็นทีมในด้านทีมแก้ปัญหามีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.80 และ 4) การทำงานเป็นทีมส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงลำดับมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านทีมเสมือนจริง มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 0.57 ด้านทีมบริหารตนเอง มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 0.38 และด้านทีมแก้ปัญหา มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ 0.11 ตามลำดับ มีอิทธิพลในการพยากรณ์การดำเนินงานกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 96.50 (Adjust R2= 0.965) โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ 0.10Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-16
Issue
Section
Articles