การเปรียบเทียบสาเหตุและผลกระทบจากการย้ายของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
Keywords:
การย้ายของข้าราชการครู, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสาเหตุการย้ายของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน 2) เปรียบเทียบผลกระทบจากการย้ายของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของสาเหตุการย้ายของข้าราชการครูเท่ากับ .98 ค่าความเชื่อมั่นของผลกระทบจากการย้ายของข้าราชการครูเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบจากการย้ายของข้าราชการครู อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการวิเคราะห์สถิติ Box's test ให้ค่า p-value = .095 ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น และเมื่อพิจารณาสถิติในการทดสอบ MANOVA พบว่า สถิติ Pillai's Trace มีค่า p-value = .006, Wilks' Lambda มีค่า p-value = .006, Hotelling's Trace มีค่า p-value = .006 และ Roy’s Largest root มีค่า p-value = .001 ตามข้อตกลงเบื้องต้น จากผลการทดสอบสมมติฐานดังกล่าวนี้ พิจารณารวมกันทุกตัวแปร จะมีความแตกต่างกันตามระดับของตัวแปรอิสระ พบว่า ค่า p-value มีค่าน้อยกว่า ระดับนัยสำคัญ .05 จึงนำไปสู่การเปรียบเทียบรายคู่ ซึ่งพบว่า สาเหตุการย้ายของข้าราชการครู ในโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ แตกต่างกัน และผลกระทบจากการย้ายของข้าราชการครู ในโรงเรียนขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พิเศษเท่านั้นที่แตกต่างกันDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-16
Issue
Section
Articles