ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
Keywords:
ทักษะการจัดการเรียนรู้, ทักษะครูในศตวรรษที่ 21, ประถมศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) เปรียบเทียบระดับทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน สังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ ขนาดโรงเรียน และการได้รับส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม 3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือครู จำนวน 322 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งขั้นตามสัดส่วน และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามมีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.57 ถึง 1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า1. ระดับทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการร่วมมือการทำงานเป็นทีม ด้านการสื่อสาร ประสานงานและสื่อความหมาย ด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการเป็นพี่เลี้ยงให้ข้อมูลย้อนกลับและอำนวยความสะดวก ด้านการคิด คิดเชิง วิพากษ์ คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ การสะท้อนความคิด และด้านการประเมินและบริหารจัดการเรียนการสอน2. ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนก ตามขนาดโรงเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน สังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ และการได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมไม่แตกต่างกัน3. แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร ประกอบด้วย 1) ด้านผู้เรียน สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้ครูผลิตสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม กับผู้เรียน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล 2) ด้านครู ส่งเสริมให้ ครูเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูปรับกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ เทคนิคการตั้งคำถาม จัดโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาตนเองของครูด้านวิชาชีพ ส่งเสริมให้ครูจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม นำเครื่องมือและเทคโนโลยีที่หลากหลายมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูได้รับการฝึกอบรมการ จัดท่านวัตกรรม การพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ และ ปลูกฝังทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ให้กับครู 3) ด้านผู้บริหาร มีการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สอบถามความต้องการของครูผู้ปฏิบัติงาน จัดสรร งบประมาณ ส่งเสริมการใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) การแจ้งข่าวสารรายละเอียดที่ชัดเจน ทำ ความเข้าใจกับครูวางนโยบายของโรงเรียน กำหนดวิธีการทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน กำหนดบทบาทหน้าที่ครูในการ ทำงานที่ชัดเจน ส่งเสริมขวัญและกำลังใจ 4) ด้านผู้ปกครองและชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยการชักชวน เชิญ ชวนผู้ปกครอง บุคคลต่าง ๆ ในชุมชนมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ปกครองและชุมชนเป็นกรรมการและ เป็นการเข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้เรียนโดยตรง สอบถามความต้องการของชุมชน ส่งเสริมให้ครูใช้ความสามารถที่มีให้ตรงกับความต้องการของชุมชนDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-15
Issue
Section
Articles