การพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน5 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ด้วยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ด้วยการประเมินความเป็นไปได้และการนำไปใช้ประโยชน์ โดยเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และผู้อำนวยการกลุ่มของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 197 คน สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผลการสร้างรูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาโดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สร้างรูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย หลักการกำกับติดตามการดำเนินงาน ได้แก่ 1) หลักความเป็นเอกภาพ 2) หลักการมีส่วนร่วม และ3) หลักความเสมอภาคและเป็นธรรม กระบวนการกำกับติดตามการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การวางแผนการกำกับติดตามการดำเนินงาน 2) การปฏิบัติตามแผนการกำกับติดตามการดำเนินงาน 3) การประเมินและรายงานผลการกำกับติดตามการดำเนินงาน4) การนิเทศและการเป็นพี่เลี้ยง 5) การเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และ ประสิทธิผลขององค์การ ได้แก่ 1) คุณภาพและมาตรฐาน 2) ความพึงพอใจของบุคลากร และ 3) ความผูกพันต่อองค์การ 2. ผลการพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า รูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการกำกับติดตามการดำเนินงานมีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักความเป็นเอกภาพ มีรายข้อ จำนวน 5ข้อ (2) หลักการมีส่วนร่วมมีรายข้อ จำนวน 5 ข้อ และ (3) หลักความเสมอภาคและเป็นธรรมมีรายข้อ จำนวน 4 ข้อ 2) กระบวนการกำกับติดตามการดำเนินงานมีองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การวางแผนการกำกับติดตามการดำเนินงานมีรายข้อ จำนวน 6 ข้อ (2) การปฏิบัติตามแผนการกำกับติดตามการดำเนินงานมีรายข้อ จำนวน 5ข้อ (3) การประเมินและรายงานผลการกำกับติดตามการดำเนินงานมีรายข้อ จำนวน 6 ข้อ (4) การนิเทศและการเป็นพี่เลี้ยงมีรายข้อ จำนวน 6 ข้อ และ (5) การเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานมีรายข้อ จำนวน 4 ข้อ และ 3) ประสิทธิผลขององค์การมีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) คุณภาพและมาตรฐาน มีรายข้อ จำนวน 5 ข้อ (2) ความพึงพอใจของบุคลากรมีรายข้อ จำนวน 5 ข้อ และ (3) ความผูกพันต่อองค์การมีรายข้อ จำนวน 5 ข้อ รวมเป็น 56 ข้อโดยพบว่ารูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามีความเหมาะสมทุกองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และรายข้อทุกข้อ 3. การประเมินรูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สรุปผลดังนี้ 3.1 ความเป็นไปได้ พบว่า ความเป็นไปได้ของรูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา องค์ประกอบโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ หลักการกำกับติดตามการดำเนินงาน กระบวนการกำกับติดตามการดำเนินงานและประสิทธิผลขององค์การ 3.2 การนำรูปแบบไปใช้ประโยชน์ของรูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา องค์ประกอบโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ประสิทธิผลขององค์การหลักการกำกับติดตามการดำเนินงาน และกระบวนการกำกับติดตามการดำเนินงาน คำสำคัญ :การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการกำกับติดตามการดำเนินงาน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา Abstract The purposes of this research were to studythe development of educational service area office monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office consisted of 3 steps as following : Step 1 Creating monitoring model for the Secondary Educational Service Area Officeby documentary analysis and interviewing 5 experts. Step 2 Development of monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office by content validity analysis and10experts discussion group, and Step 3 Evaluation of monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office by feasibility analysis and utilization from 197directors of the Secondary Educational Service Area Office, deputy directors of the Secondary Educational Service Area Office, and directors of the Secondary Educational Service Area Office division. The research findings were revealed as follows ; 1. The results of creating monitoring model for the Secondary Educational Service Area Officeby documentary analysis and interviewing experts found that monitoring model for implementationof Secondary Educational Service Area Office consisted of 3 main components, namely 1) Principles of monitoring which consisted of 3sub-components including (1) Principles of unity (2) Principles of participation , and (3) Principles of justice and fairness 2) Process of monitoring which consisted of 5 sub-components including (1) Monitoring plan (2) Implementation of the monitoring plan (3) Monitoring assessment and reporting (4) Supervision and mentoring, and (5) Enhancing the morale in the workplace 3) Organizational effectiveness which consisted of 3sub-components including (1) Quality and standard (2) Personnel satisfaction, and (3) Organizational commitment . 2. The result of development of monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office was found that monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office consisted of 3 main components, namely 1) Principles of monitoring which consisted of 3sub-components including (1) Principles of unity which detailed 5 items (2) Principles of participation which detailed 5 items, and (3) Principles of justice and fairness which detailed 4 items 2) Process of monitoring which consisted of 5 sub-components including (1) Monitoring plan which detailed 6 items (2) Implementation of the monitoring plan which detailed 5 items (3) Monitoring assessment and reporting which detailed 6 items (4) Supervision and mentoring which detailed 6 items, and (5) Enhancing the morale in the workplace which detailed 4 items 3) Organizational effectiveness which consisted of 3sub-components including (1) Quality and standard which detailed 5 items (2) Personnel satisfaction which detailed 5 items, and (3) Organizational commitment which detailed 5 items. The total 56 items found that the monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office was suitable for all elements, allsub- elementsand allitems. 3. The result of evaluation of monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office can be concluded as follows ; 3.1 The result offeasibility analysis found that the feasibility of monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office of elements as a whole was at high level. When considering each individual element, the research found to be at high level in all aspects by descending order of the average as follow; principles of monitoring, process of monitoring, and organizational effectiveness. 3.2The result ofutilization of monitoring model for the Secondary Educational Service Area Office of elements as a whole was at high level. When considering each individual element, the research found to be at high level in all aspects by descending order of the average as follow; organizational effectiveness, principles of monitoring, and process of monitoring. Keywords: The Development of Model , Monitoring Model , the Secondary Educational Service Area OfficeDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles