แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เป็นสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ 2
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เป็นสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ 22) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เป็นสากลภายในโรงเรียนดังกล่าว และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 โรง รวมจำนวนทั้งสิ้น 63 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 52 คน จากโรงเรียนจำนวน 29 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เป็นสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสอนการฟังมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เป็นสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และ 3) การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่เป็นสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ 2 สรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้ แนวทางสำหรับครู คือ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียน การพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ แนวทางสำหรับผู้บริหาร คือ สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การสนับสนุนส่งเสริมให้ครูใช้สื่อประกอบการสอนภาษาอังกฤษ การส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่วิจัยในชั้นเรียน การจัดสรรงบประมาณในการจ้างครูพิเศษด้านภาษาอังกฤษ การเป็นผู้บริหารต้นแบบด้านการใช้ภาษาอังกฤษ และแนวทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ การกำกับติดตามโครงการตามนโยบายตามสภาพจริง คำสำคัญ:ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, CEFR Abstract This research is aimed to study the ways to enhance of English Teaching Methodology in Line with the Common European Framework of Reference for Language (CEFR) under Pathumtani Primary Educational Service Area Office 1 and 2. A sample of 52 was included by a quota and a random selection. The research instruments were questionnaire and focus group discussion constructed by the researcher. The number of usable questionnaire copies was 52, or 100.00 percent. The data were analyzed in terms of percentages, mean, standard deviation as well as content analysis for focus group discussion. The result revealed that the aspect mostly implemented was the teaching listening, while the grammatical instruction for communication was least. Additionally, the aspect mainly supported was the curriculum, whereas the lowest one was the promotion of the parent and public participation. The standard way for improving the English teaching is basically made up from three group of people, including the teachers, the school administrators and the Educational Service Area Office. For the teachers, they should have continual improvement in English as well as enhance student’s positive attitude in learning English. For the administrators, they should be the desirable model of using English in daily life, provide the instructional media and materials, encourage the teachers doing classroom research, hire the additional English tutor, and co-ordinate with the parent and others organization to improve teaching English. Last but not least, for the Educational Service Area Office, they shouldregularly supervise and monitor the English teaching of the schools. Keywords : Enhance English Teaching Methodology, CEFRDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles