การพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล ในสถาบันอุดมศึกษา
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผลในสถาบันอุดมศึกษา 2) พัฒนาหลักสูตรและแนวทางการใช้หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผลในสถาบันอุดมศึกษา 3) ตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้บริหารของสำนักทะเบียนและประมวลผล รวมทั้งสิ้น 72 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล จำนวน 23 คน และรองผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล จำนวน 49 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผลในสถาบันอุดมศึกษา ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการใช้หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผลในสถาบันอุดมศึกษา และระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้พัฒนางาน ได้แก่ หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผลในสถาบันอุดมศึกษา แนวทางการใช้หลักสูตร 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.57 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .889 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินสมรรถนะการบริหาร แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตร และแบบประเมินระดับความสำเร็จของการใช้หลักสูตร สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon signed – rank test) ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผลในสถาบันอุดมศึกษา มี 2 สมรรถนะ คือ สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม และสมรรถนะด้านการมอบหมายงาน 2) หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผลในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียน ระยะเวลาการพัฒนา 22 วัน 3) ผู้เข้ารับการพัฒนามีสมรรถนะการบริหารก่อนการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากและหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยสมรรถนะการบริหารสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผู้เข้ารับการพัฒนามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรโดยรวมและรายด้านในระดับมาก (xˉ = 4.36 , S.D. = 0.49) 5) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีระดับความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.40) 6) ผู้เข้ารับการพัฒนามีผลการประเมินกิจกรรมระหว่างการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D. = 1.13) คำสำคัญ : การพัฒนา, สมรรถนะการบริหาร, สำนักทะเบียนและประมวลผล Abstract The objectives of this study were 1) to study the factors on managerial competency of directors of the office of the registrar in higher education institutions; 2) to develop a curriculum and guideline on the application of managerial competency development curriculum for directors of the office of the registrar in higher education institutions and 3) to assess the appropriateness of the developed curriculum. The target group consisted of 1) 23 directors of the office of the registrar and 2) 49 deputy directors of the office of the registrar. The tools employed were 1) tools on work development: (1) the developed managerial competency curriculum for directors of the office of the registrar in higher education institutions and (2) application guideline for the developed curriculum; 2) data collection tools: (1) a 5-level rating scale questionnaire, (2) managerial competency evaluation form and (3) satisfaction evaluation form towards the developed curriculum. Statistics used in data analysis were percentage, mean and Wilcoxon signed – rank test The findings were as follows: 1) There were 2 managerial competencies of directors of the office of the registrar in higher education institutions, which were teamwork competency and assignment competency. 2) The developed managerial competency development curriculum for directors of the office of the registrar in higher education institutions comprised 3 learning units and a course duration for development of 22 days. 3) The overall managerial competency of the participants before participation was at a high level. After the participation, the mean of their managerial competency was higher than that before participation with the .01 level of statistical significance. 4) The satisfaction of the participants towards the developed curriculum in an overall and each factor was at a high level (xˉ = 4.36, S.D. = 0.49). 5) The overall success of the developed curriculum was at a high level. 6) The overall activity assessment of the participants during the development deration was at the highest level (= 4.52, S.D. = 1.13). Keywords : The Development, Managerial Competency, The Office of RegistrationDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles