ปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวมและระดับประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวม กับประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 โรงเรียน จำนวน 224 คน โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วนของครูแต่ละโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .80-1.00มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวม 6 ปัจจัยได้แก่ 1) การสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า 2) การมีส่วนร่วมของทีมงาน 3) การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 4) การพัฒนาบุคลากร5) นวัตกรรมและเทคโนโลยี และ 6) การวางแผนกลยุทธ์ เท่ากับ 0.86, 0.90, 0.90, 0.91, 0.90 และ 0.92 ตามลำดับและค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดประสิทธิผลของโรงเรียน 4 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านปริมาณและคุณภาพของผลผลิต2) ด้านประสิทธิภาพของการผลิต 3)ด้านการปรับตัวและความยืดหยุ่นขององค์การและ4) ด้านประสิทธิภาพร่วมของครู มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96, 0.94, 0.95 และ 0.93 ตามลำดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบตัวแปรพหุนาม (Multivariate Multiple Regression : MMR)และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบตัวแปรตามเอกนาม (Univariate Multiple Regression : MR) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวมของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 6 ปัจจัยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การวางแผนกลยุทธ์ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า การมีส่วนร่วมของทีมงาน การพัฒนาบุคลากร และนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตามลำดับประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านประสิทธิภาพของการผลิต ด้านประสิทธิภาพร่วมของครู ด้านการปรับตัวและความยืดหยุ่นขององค์การ และด้านปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ตามลำดับ 2. ปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวม และ ประสิทธิผลของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 3. ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ปรากฏผลดังนี้ 3.1 ปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวม ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนด้านปริมาณและคุณภาพของผลผลิตในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และ การวางแผนกลยุทธ์ มีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐานเท่ากับ 0.302 และ 0.194 ตามลำดับ3.2 ปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวมส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ด้านประสิทธิภาพของการผลิต ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และการวางแผนกลยุทธ์ มีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐาน เท่ากับ 0.930และ 0.485 ตามลำดับ และส่งผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การพัฒนาบุคลากร มีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐาน เท่ากับ 0.1553.3 ปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวมส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนด้านการปรับตัวและความยืดหยุ่นขององค์การ ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาบุคลากร และ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐาน เท่ากับ 0.328 , 0.302 และ 0.214 ตามลำดับ3.4 ปัจจัยการจัดการคุณภาพโดยรวม ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนด้านประสิทธิภาพร่วมของครูในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ และ การพัฒนาบุคลากรมีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐาน เท่ากับ 0.326 และ 0.238 ตามลำดับ คำสำคัญ : การจัดการคุณภาพโดยรวม, ประสิทธิผลของโรงเรียน,โรงเรียนอนุบาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ Abstract This research had the objectives to: study the levels of total quality management factors and school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinces, study the relationships between the total quality management factors and school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinces, and find the importance weights of the total quality management factors affecting the school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinces. The research samples were 224 teachers of 5 kindergarten schools in southern border provinces, acquired by conducting proportionate simple random sampling of individual schools. The instrument used in the research was a 5-rating scale questionnaire with the IOC of 0.80 – 1.00. The Cronbach’s Alpha Coefficients for the 6 factors of total quality management, i.e. 1) building customer satisfaction, 2) teamwork participation, 3) continuous quality improvement, 4) personnel development, 5) innovation and technology, and 6) strategic planning were 0.86, 0.90, 0.90, 0.91, 0.90and0.92 respectively; and those for the 4 aspects of school effectiveness, i.e. 1) quantity and quality of products, 2) production efficiency, 3) organization adaptation and flexibility, and 4) teacher collective efficacy were 0.96, 0.94, 0.95, and 0.93 respectively. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Multivariate Multiple Regression (MMR) and Univariate Multiple Regression (MR). The research results reveal as follows. 1. The 6 factors of total quality management of kindergarten schools in southern border provinces were all at the high level; arranged in descending order of mean: strategic planning, continuous quality improvement, building customer satisfaction, teamwork participation, personnel development, and innovation and technology respectively.The 4 aspects of school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinceswere all at the high level; arranged in descending order of mean:production efficiency, teacher collective efficacy, organization adaptation and flexibility, and quantity and quality of products respectively. 2. The factors of total quality management and the aspects of school effectiveness were positively related at .01 level of significance. 3.The beta weights of the factors of the total quality management affecting the school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinces were found as follows.3.1 The factors of the total quality management affecting positively the quantity and quality of productsaspect of the school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinces at .01 level of significance were innovation and technology and strategic planning with the beta weights of 0.302 and 0.194 respectively.3.2 The factors of the total quality management affecting positively the production efficiency aspect of the school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinces at .01 level of significance were continuous quality improvement and strategic planning with the beta weights of 0.930 and 0.485 respectively whereas the personnel development did at .05 level of significance3.3 The factors of the total quality management affecting positively the organization adaptation and flexibility aspect of the school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinces at .01 level of significance were strategic planning, personnel development and continuous quality improvement with the beta weights of 0.328, 0.302 and 0.214 respectively.3.4The factors of the total quality management affecting positively the teacher collective efficacy aspect of the school effectiveness of kindergarten schools in southern border provinces at .01 level of significance were strategic planning and personnel development with the beta weights of 0.326 and 0.238 respectively. Keywords : Total quality management, School effectiveness, Kindergarten schools in southern border provincesDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles