รูปแบบการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีศึกษาระดับสถานีตำรวจ

Authors

  • ดิฐภัทร บวรชัย

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีศึกษาระดับสถานีตำรวจ  2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีศึกษาระดับสถานีตำรวจ  3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีศึกษาระดับสถานีตำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้าราชการตำรวจระดับปฏิบัติการ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค 1 – 9 ภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการในพื้นที่ ผู้ทรงคุณวุฒิ หัวหน้าสถานีตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค 1- 9 และศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเลขสุ่มของเคร์จซี่; และ มอร์แกน (Krejcie; & Morgan.1970: 608) จำนวน 1,281 คน  (2) กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 307 คน (3) กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลวิจัยพร้อมแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ไปยังหน่วยงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง จัดให้มีการสนทนากลุ่มภายหลังจากที่ได้ข้อมูลและสรุปผลการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเรียบร้อยแล้วสร้างรูปแบบการป้องกันการทุจริตพร้อมให้ทรงคุณวุฒิพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบที่ถูกสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการตำรวจระดับสถานีโดยรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 3.67 , S.D. = 0.75)  สาเหตุของการทุจริตประพฤติมิชอบ สรุปได้ 2 ประการ คือ 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ตอบแทนผู้มีพระคุณ ยอมรับการทุจริตเป็นเรื่องปกติ คิดว่าไม่มีใครจับได้ ขาดความซื่อสัตย์สุจริต คุ้มค่าที่จะเสี่ยง ความโลภ ไม่รู้จักพอ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ความเคยชิน คิดว่าใครๆก็ทำกัน จิตใจไม่เข้มแข็ง ต้องการความร่ำรวย ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ยกย่องคนมั่งมีผู้มีอำนาจ 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่  ไม่มีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง  ตกอยู่ใต้อิทธิพลผู้มีอำนาจ มีโอกาสในการเรียกรับผลประโยชน์ เข้าไปมีส่วนได้เสียกับสถานประกอบการ ผูกขาดอำนาจการแต่งตั้ง อิทธิพลทางการเมือง ความเข้าใจผิดของประชาชน การแทรกแซงทางการเมือง ความล่าช้าของกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการทุจริต  ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ผู้บังคับบัญชาบางคนเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี รายได้น้อย ค่านิยมว่าตำแหน่งเป็นสมบัติส่วนบุคคล กฎหมายมีช่องโหว่ การมีอำนาจผูกขาด พฤติกรรมเลียนแบบ อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และอำนาจ สภาพการทำงานเอื้อต่อการทุจริต สำหรับรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ มี 4 ระยะ ตั้งแต่ ระยะก่อนเข้าเป็นตำรวจ ระยะเข้าโรงเรียนตำรวจ ระยะรับราชการตำรวจ และระยะพ้นจากการเป็นตำรวจ โดยทั้ง 5 สายงานในสถานีตำรวจ คือ ป้องกันปราบปราม สอบสวน สืบสวน จราจร และอำนวยการควรมีลักษณะเป็นการป้องกันและแก้ปัญหาแบบบูรณาการให้ภาครัฐและประชาชน เข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วมสนับสนุน ส่งเสริมองค์ความรู้ งบประมาณ สวัสดิการ กำลังพล และตรวจสอบการทำงาน มีระบบการตรวจสอบภายใน และตรวจสอบภายนอกที่เคร่งครัดจากองค์กรหรือหน่วยงานอิสระ เช่น คณะกรรมการร้องเรียนตำรวจ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานและตรวจสอบระบบการทำงาน มีระบบการส่งเสริมตำรวจดีที่เข้มแข็ง   คำสำคัญ:การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ, เจ้าหน้าที่ตำรวจ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads