การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนของครู ระดับอาชีวศึกษา
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) วิเคราะห์สมรรถภาพและความต้องการจำเป็นของครูในเรื่องการเสริมสร้างสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนของครูระดับอาชีวศึกษา 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนของครูระดับอาชีวศึกษา และ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนของครูระดับอาชีวศึกษา หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใช้การฝึกอบรมครูเป็นเวลา 30 ชั่วโมง มีการสอบวัดสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนก่อนและหลัง และ การติดตามหลังการฝึกอบรม 1 เดือน เพื่อรับทราบผลพัฒนาการและความคงทนความรู้ ของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ความรู้ เจตคติ และทักษะ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ประเมินความต้องการจำเป็น และกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้หลักสูตร จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มและการเลือกแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ฉบับได้แก่ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แบบทดสอบความรู้ แบบวัดเจตคติ และแบบประเมินทักษะ เครื่องมือทั้ง 4 ฉบับมีความตรงเชิงเนื้อ และความเชื่อมั่นสูง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของครูในเรื่องการส่งเสริมสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนของครูระดับอาชีวศึกษาได้แก่ การเตรียมแผนการสอน การบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดการการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาการสอดแทรกด้านศีลธรรมและจริยธรรมการทำวิจัยในชั้นเรียน และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) หลักสูตรส่งเสริมสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนของครูระดับอาชีวศึกษา ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลโดยผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนของครูระดับอาชีวศึกษา พบว่าความรู้และเจตคติเกี่ยวกับสมรรถภาพการบริหารการจัดการสอนของครู มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์สามารถพัฒนากลุ่มตัวอย่าง ด้านความรู้และเจตคติสูงขึ้นทุกคน โดยมีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก สำหรับด้านทักษะการปฏิบัติงานอาชีพ พบว่าอยู่ในระดับมาก หลังจากการติดตามผลการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน คะแนนทั้ง 2 ส่วนลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ:หลักสูตรฝึกอบรม Abstract The purpose of this study was to 1) analyze the competency and needs of vocational teachers in enhancing instructional management competency, 2) develop a curriculum to enhance teaching management competency of vocational teachers and 3)study the effect of using the curriculum to enhance teaching management competency of vocational teachers. The training period was 30 hours and a follow-up for a period of one month to evaluate the results of the development and durability of the sample concerning knowledge, attitude, and skills. The samples consisted of needs assessment and sampled 30 voluntary teachers in the Eastern Institute of Vocational Technology. There were 4 research instruments, namely a needs assessment form, a test, an attitude assessment form and a skills assessment form, which all had content validity and reliability. The data was analyzed by descriptive statistics namely, frequency, percentages, means, standard deviation, relative gain score and content analysis. The findings revealed the followings: 1) Needs analysis revealed teachers needs on enhancing teaching management competency of vocational teachers in vocational technology, namely preparing lesson plans, classroom management skills, learning management, information technology in education, moral and ethical integration, classroom research, assessment and evaluation of learning. 2) An enriched curriculum to enhance instructional management competency of vocational teachers consisting of principles, aims, contents, learning activities, teaching activities, instructional media and assessment. The results of the evaluation by experts were found that the course is appropriate and can be implemented in actual practice. 3)The implementation results of the enriched curriculum to enhance instructional management competencyof vocational teachers revealed that knowledge and attitude concerning instructional management of teachers had effectiveness on the set criteria, so it could be developed for higher knowledge and attitude. All of the samples obtained gained scores at the high to very high level. It was found that the occupational skill was at the high level. The follow up one month after the training revealed that the scores for knowledge and skills were slightly decreased, however, the scores were still in the high level and the samples reflected satisfaction towards the training course at the highest level. Keywords:Training ProgramDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles