แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

Authors

  • วันทนี ยอดยิ่ง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 37 โรงเรียน ครูผู้สอน จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและการนิเทศภายในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สูงสุด คือ           ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านความรับผิดชอบและต่ำที่สุด คือ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ 2) การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สูงสุด คือ ด้านการวางแผน รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลและต่ำที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานครไม่มีความสัมพันธ์กับการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ในเชิงบวกไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า สูงที่สุด คือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (X5) และด้านการศึกษาสภาพและความต้องการ (Y1) มีความสัมพันธ์กันสูงสุดเชิงลบมีนัยสำคัญที่ .01 (-.197**) รองลงมา ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ  (X3) ด้านการปฏิบัติการนิเทศ (Y3) ความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ทางสถิติที่ .01 ต่ำสุด ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ (X3) ความสัมพันธ์กับการนิเทศภายใน (Ytot) ความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ทางสถิติที่ .01 (.045**) และต่ำสุด คือ  แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน (X5) มีความสัมพันธ์กับการนิเทศภายในด้านการวางแผน  (Y2) ด้านการปฏิบัติการนิเทศ (Y3) และด้านการประเมินผล (Y4) ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสัมพันธ์กับด้านการศึกษาสภาพและความต้องการ (Y1) และ การนิเทศภายในในภาพรวม (Ytot) ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษา   Abstract This proposal research objective were to 1) to study the level of motivation in the performance of school teachers under the Office of the Office of Primary Education, Bangkok Metropolis 2) to study the level of internal supervision of the schools under the Office of the Bangkok Metropolitan Area. To study the relationship between teacher motivation and school supervision in schools under the jurisdiction of the district office. The primary education positively correlated with statistically significant. 01. The samples used were teachers in the office. The 37 primary school districts in Bangkok metropolitan area were 310 teachers. The research instrument was a questionnaire about teacher motivation and internal supervision. The statistics used for data analysis were percentage. Average deviation And Pearson's product moment correlation coefficient. Statistically significant at .01 The study indicated that 1) Motivation in the performance of school teachers under the Office of the Bangkok Metropolitan Administration Overall, the average was at the highest level.When considering each side, it was found that. The highest is the success of the operation, the lowest is the responsibility and the lowest is the success. The nature of the work. 2) In-school Supervision of Schools under the Office of the Primary Education Service Area The overall picture is at the highest level. When considering each side, it was found that the maximum was Secondary planning is the evaluation and the lowest is the implementation of supervision. 3) The relationship between job motivation and school internal supervision. Under the jurisdiction of the office of the Bangkok Metropolitan Administration of Primary Education, it was found that the motivation of the teachers in the schools under the office of the Bangkok Metropolitan Administration of Primary Education was not related to the internal supervision of the schools under the Bangkok Metropolitan Area Office. Positive did not meet the assumptions set when considering each side. It was found to be the highest. Progress in positions (X5) and education, conditions and requirements. (Y1) had the highest negative correlation at .01 (-.197 **). (X3) Supervision. (Y3) statistically significant positive correlation at .01 The minimum is the aspect of the work. (X3) Relationships with internal supervision. (Ytot). Positive correlation was statistically significant at .01 (.045**) and lowest was motivation for teacher performance in job advancement (X5). Relative to internal supervision in planning (Y2), supervision (Y3) and evaluation (Y4) at the .05 level of significance, and in relation to education, conditions and needs (Y3). Y1) and internal supervision The overall (Ytot) negative statistical significance level. 01.   Keywords: The Academic administration, The Internal School Qualities Assurance

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads