การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” จำนวน 12 ห้องเรียน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน และเป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ทดสอบนักเรียนด้วยแบบประเมินผลการใช้หลักสูตรเสริม ประเมินเจตคติ และพฤติกรรม การมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ผลการทดลอง โดยใช้สถิติการหาค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยเจตคติและพฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 เมื่อขจัดผลของความแตกต่างก่อนการทดลอง แล้วปรากฏ ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติกับพฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนหลังการทดลองมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการเปรียบเทียบเจตคติการมีคุณธรรมจริยธรรมหลังการทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความมี วินัย และความประหยัด กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์และความขยันหมั่นเพียร มีเจตคติต่อการมีคุณธรรมจริยธรรมไม่แตกต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมหลังการทดลองระหว่างกลุ่มควบคุม กับกลุ่มทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมไม่แตกต่างกัน หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมด้านความมีวินัยของกลุ่มทอลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความประหยัด และความขยันหมั่นเพียร มีพฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมไม่แตกต่างกัน Abstract The purposes of this research were to develop and to find the efficiency of students’ ethical enrichment of Soahai School “Wimonwiitayanugoon” under the Office of the Secondary Education Area 4. The samples were divided into two groups: first was an experimental group which had 40 students participated; while the second group was a controlled group which had 40 students participated. The samples came out of the pool of 9th grade students where there were 12 classrooms of the academic year of 2016. The given test protocols were an evaluation of extra-curricular which contained, an evaluation of students’ ethical aptitude and an evaluation of students’ ethical behaviors. The statistics used for the study was the Product Moment Correlation Coefficient of Pearson and One-way ANOVAs. The results revealed that: 1. The relationships between the students’ ethical aptitude and students’ ethical behaviors showed the statistically correlation at the level of .01 2. The comparison of the students’ ethical aptitude between groups showed that the experimental group had a higher mean than the controlled group at the statistically difference at the level of .05. However, when considered the scores of each aspect found that the discipline aspect and saving aspect of the experimental group was higher than the controlled group at the statistically difference at the level of .01 For those aspects of responsibility, honesty, and persistence were not different. 3. The comparison of the students’ ethical behaviors between groups showed less difference of the means. However, when considered the scores of each aspect found that the discipline aspect of the experimental group was higher than the controlled group at statistically difference at the level of .05. For those aspects of responsibility, honesty, saving and persistence were not different. Keywords: development, extra curriculum, moral ethics, studentDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles