ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา2) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3)ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำนวน 274 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามมาได้จำนวน 254ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.70เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60ถึง 1.00และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .98 โดยค่าความเชื่อมั่นการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ .95 และค่าความเชื่อมั่นภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก2)ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีความสัมพันธ์กับการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .90 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในระดับสูง และ4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ส่งผลต่อการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้ร้อยละ 81.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติส่งผลต่อการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมา คือ การกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ และการกำหนดกลยุทธ์ ตามลำดับ คำสำคัญ: การบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้,ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ Abstract The purposes of this research were as follows: 1) to study the levels of learning organization management among school administrators; 2) to compare the levels of strategic leadership among school administrators; 3) to identify relationships between strategic leadership and effective learning organization management among school administrators; 4) to examine the levels of strategic leadership affecting learning organization management under the authority of the Prachinburi Primary Educational Service Area, Office Two.The sample consisted of two hundred and seventy-four teachers employed in schools under the authority of the Prachinburi Primary EducationalService Area, Office Two, and using stratified random sampling. There were two hundred and fifty-four questionnairescollected, which accounted for 92.70% of the total. The instruments used for data collection included a five- point rating scale questionnaire. The IOC was valued from .60 to 1.00 and the reliability of the questionnaire was at .98, the learning organization management of school administrators was .95, and the strategic leadership of school administrators was .97. The data analysis was performed by mean, standard deviation, the Pearson product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis - enter method. The results of the research were as follows: 1) the level of learning organization management among school administrators was at a high level as a whole;2) The level of strategic leadership among school administratorswas at a high level as a whole;3) There was a statistically significant positive relationship of .01 between strategic leadership and learning organization management among school administrators. The Pearson’s correlation coefficient (r) = .90 showed that the two variables had a relationship at a high level; and 4) strategic leadership affected the learning organization management of school administrators, with a predictive power of 81.90 and a .05 level of statistical significance.Strategicleadershipcould be seen as an implementation of strategy that affects learning organization management among school administrators at the highest level, as follows; determining strategic directions, strategic cortege and evaluation and strategy formulation. Keywords: Learning organization management, Strategic leadershipDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles