การศึกษารูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.ศึกษาองค์ประกอบ 2. สร้างรูปแบบ 3.ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูในสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 8 แห่ง ปีการศึกษา 2560จำนวน 234 คน การกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของKrejcie & Morgan [1] ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นชนิดสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการของของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 12 ด้าน รวม 79 ข้อ มีค่าIOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่ 1-12 เท่ากับ 0.95,0.93,0.92,0.95,0.91,0.92, 0.92,0.93,0.91,0.94,0.96, 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบแบบตั้งฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Rotation) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีพบว่ามี 9 องค์ประกอบ ทุกองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักระหว่าง 0.516-0.816 คือ 1.ภาวะผู้นำและคุณธรรมจริยธรรม มี 13 ตัวแปร 2. การบริหารหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน มี 9 ตัวแปร 3. การวิจัยในชั้นเรียน มี 7 ตัวแปร4.การประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการ มี 7 ตัวแปร 5. การประเมินตามสภาพจริง และการวัดแบบมุ่งเน้นสมรรถนะ มี 4 ตัวแปร6. การจัดการกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี 5 ตัวแปร7. การมีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ในการทำงานมี 3 ตัวแปร 8. การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม มี 5 ตัวแปร และ 9.ระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษามี 3 ตัวแปร สามารถอธิบายองค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการของของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 74.96 2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ1. ภาวะผู้นำและคุณธรรมจริยธรรม 2. การบริหารหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน 3. การวิจัยในชั้นเรียน 4. การประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการ 5. การประเมินตามสภาพจริง และการวัดแบบมุ่งเน้นสมรรถนะ 6. การจัดการกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 7. การมีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ในการทำงาน 8. การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และ 9. ระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 3. การประเมินรูปแบบ โดยการจัดกลุ่มสนทนาผู้เชี่ยวชาญ 9 คน สรุปว่าองค์ประกอบรูปแบบทั้ง 9 องค์ประกอบ มีความถูกต้อง เหมาะสม มีประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ได้ร้อยละ 100 คำสำคัญ:การบริหารงานวิชาการ, รูปแบบการบริหารวิชาการ, การบริหารวิชาการอาชีวศึกษา Abstract This research aimed to study 1) the factors of academic administration 2) create the model, and 3) evaluate of an academic administration model for college under UbonRatchathani provincial vocational office.The sample comprised 234teachers from 8 college underUbonRatchathani provincial vocational office, obtained by stratified random sampling. The tool used for data collecting was a 5-level rating scale questionnaire with the reliability part 1-12 at 0.95,0.93,0.92,0.95,0.91,0.92,0.92,0.93,0.91, 0.94,0.96, 0.96level. The statistics used for data analysis were Exploratory Factor Analysis: EFA) Principal Component Analysis, Orthogonal Rotation, Varimax Rotation method. The research results revealed that: 1. The factor of an academic administration model for college under UbonRatchathani provincial vocational office comprised 9 factors and the variables in every factor weight between 0.516 - 0.814 arrange order total weight factor : leadership virtue and morality with 13 variables, curriculum and learning process with 9 variables, classroom action research with 7 variables, co-operating to establishment with 7 variables, authentic assessmentand competencies evaluation with 4 variables, curriculum and development activities with 5 variables, vision goal and strategies with 3 variables, technology and innovation with 5 variables, and quality assurance standard with 3 variables, and explained 9 appropriate factors at 74.96 % 2. The academic administration modelfor college under UbonRatchathani provincial vocational office, was 9 appropriate factors, comprised leadership virtue and morality, curriculum and learning process, classroom action research, co-operating to establishment, authentic assessment and competencies evaluation, curriculum and development activities, vision goal and strategies, technology and innovation, and quality assurance standard. 3. The evaluation of an academic administration model for college under UbonRatchathani provincial vocational office by experts every appropriate were correct, suitable, useful and implementation at 100%. Keywords:Academic administration, Academic administration model, Vocational academic administration.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles