การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา(ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการในกรณีที่ไม่มีรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการให้เอาครูวิชาการ โรงเรียนละ 2 คน)ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 118คน ซึ่งได้มาโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และเมอร์แกน และโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น ด้านทักษะการบริหารงาน เท่ากับ .941 และมีค่าความเชื่อมั่นด้านการบริหารงานวิชาการเท่ากับ .948สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทักษะการบริหารงานอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ทักษะทางความรู้ความคิดทักษะทางมนุษย์ส่วนทักษะการบริหารงานที่อยู่ในระดับมาก คือ ทักษะทางการศึกษาและการสอน ทักษะทางความคิดรวบยอด และทักษะทางเทคนิค ตามลำดับ 2. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการบริหารงานวิชาการทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3. ทักษะการบริหารงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ:ความสัมพันธ์,การบริหาร Abstract This research aimed to (1) study the management skills of administrators in Secondary Schools (2) study the academic administration of administrators in Secondary Schools and (3) study the relationship between the management skills and academic administration of administrators in Secondary Schools. The sample was 118 administrators (school director and vice-president of a school academic section corporation in case of have no vice-president of a school corporation take academic section school teacher replaces the school vacates 2 persons) working at Schools under the Secondary Educational Service Area Office 28; they were selected by sampling size of Krejcie& Morgan and by Stratified Random Sampling. The instrument was the five ratting scale questionnaire the management skills with 0.941 of reliability and the academic administration was 0.948. The statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson Product Moment Correlation. The research results were found as follows; 1. The management skills of administrators in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area Office 28 as overall was at highest level, ranking mean from highest to lowest; the knowledge and ideas skills, the human skills, the educational and teaching skills, the concepts skills, and the technical skills respectively. 2. The academic administration of administrators in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area Office 28as overall was at high level, ranking mean from highest to lowest; the teaching supervision, the measurement and evaluation, the courses and curriculum implementation management, the teaching and learning management respectively. 3. The management skills had positive related to the academic administration of administrators in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area Office 28 by statistical significant at .01 level. Keywords: Relationship, ManagementDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles