การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านป้องกันปัญหาทางเพศสำหรับนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านป้องกันปัญหาทางเพศ และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านป้องกันปัญหาทางเพศสำหรับนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 4 ประเด็น ได้แก่ การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม การเปรียบเทียบผลการวัดระดับความรู้ความเข้าใจทักษะชีวิต การวิเคราะห์พฤติกรรมการป้องกันปัญหาทางเพศ และการวิเคราะห์เจตคติที่มีต่อหลักสูตรเสริม มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา สำรวจ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตรเสริม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรเสริม และความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริ โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มมีการทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางซ้ายวิทยา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ หลักสูตรเสริม แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบสอบถามเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80การทดสอบค่าที(t-test) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตรเสริม ผู้ให้ข้อมูล คือ วิทยากรผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยแก้ไขตามข้อเสนอแนะเพื่อให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์มากขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านป้องกันปัญหาทางเพศสำหรับนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านการป้องกันปัญหาทางเพศ 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร องค์ประกอบที่ 2 การจัดการกับอารมณ์ องค์ประกอบที่ 3 การภาคภูมิใจในตนเอง องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และองค์ประกอบที่ 5 การดูแลรักษาสุขภาพ ที่มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องเกี่ยวข้องชัดเจนกับการพัฒนาหลักสูตรเสริม 2.ประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม พบว่า 1) หลักสูตรเสริมมีคะแนนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 91.05/90.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) คะแนนความรู้ความเข้าใจหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 3) พฤติกรรมการป้องกันปัญหาทางเพศของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 3.50 ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทุกด้าน และ 4) เจตคติที่มีต่อหลักสูตรเสริมสูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 3.50 ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทุกข้อ คำสำคัญ :การพัฒนาหลักสูตรเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตทักษะชีวิตด้านป้องกันปัญหาทางเพศ Abstract This research had the objectives to 1) develop an enrichment curriculum for developing life skills in the prevention of sexual problems for school girls in lower secondary schools, and 2) evaluate the efficiency of the enrichment curriculum for developing life skills in the prevention of sexual problems for school girls in lower secondary schools. The research was conducted in 4 stages. Stage1: Study, survey, and synthesis of fundamental data. The samples were 73 teachers of Health and Physical Education Learning Substance Group in schools under the Secondary Educational Service Area Office 3 in ChangwatPhranakhon Si Ayutthaya. The instrument was a survey-type questionnaire. The data was analyzed by mean and percentage. Stage 2: Building an enrichmentcurriculum. The target group was 10 experts. The instrument was a concordance evaluation form of the enrichment curriculum draft and its appropriateness. The data was analyzed by content validity index, mean and standard deviation. Stage 3: Examination of the enrichment curriculum efficiency using one group pretest-posttest experimental design. The samples were 30 Matayomsuksa 2 school girls of Bangsaiywitthaya School. The instrument consisted of enrichment curriculum, knowledge and understanding assessment, behavioral evaluation form, and attitudes questionnaire. The data was analyzed by the efficiency values of the enrichment curriculum (E1/E2) criterion of 80/80, t-value, mean and standard deviation. And Stage 4: Improving the enrichment curriculum. The key informants were the trainers who conducted learning activities. Their recommendations were used to improve the curriculum to be more complete. The research results found as follows. 1. The development of enrichment curriculum for life skills development of prevention of sexual problems for school girls in lower secondary schools had 5 components of life skills development of prevention of sexual problems: Component 1: Building relationships and communication, Component 2: Emotion management, Component 3 : Self-esteem, Component 4 : Critical thinking skills, and Component 5: Health care. They had the appropriateness at the high level and had explicit accordance and relations with the development of the enrichment curriculum. 2.The evaluation of the enrichment curriculum efficiency found that 1) The enrich curriculum having the marks of during learning activities management and post learning activities management (E1/E2) of 91.05/90.67, which were higher than the criterion of 80/80. The understanding marks after learning activities management were significantly higher at .05 level than those before learning activities management. 3) The behavioral prevention of sexual problems of the school girls was significantly higher at .05 level than the mean criterion of 3.50 in every aspect. 4) The attitudes on the enrichment curriculum were significantly higher at .05 level than the mean criterion of 3.50 in every item. Keywords:Develop aenrichment curriculum, Develop life skills, Life skills to prevent sexual problemsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles