ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 12) ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 13) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2560 รวมทั้งสิ้น242 คน โดยกำหนดตามตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้นแล้วทำการสุ่มอย่างง่าย โดยจับฉลากเพื่อให้ได้จำนวนครบตามกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.60 - 1.00ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .853 ค่าความเชื่อมั่นของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนเท่ากับ .844และค่าความเชื่อมั่นของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนเท่ากับ .863 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สหสัมพันธ์พหุคูณ และสมการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ ด้านการควบคุมองค์การอย่างสมดุล ด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ ด้านการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม และด้านการบริหารทรัพยากรในองค์การ2) ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความพร้อมรับผิดชอบด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ ด้านประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4)ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ทั้ง 5 ด้าน ร่วมกันอธิบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ได้ร้อยละ 48.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านการควบคุมองค์การอย่างสมดุลส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนส่งผลมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ ด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ และด้านการบริหารทรัพยากรในองค์การ สำหรับด้านการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมไม่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน คำสำคัญ: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์,ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ Abstract The purposes of this research were 1) to study strategic leadership among private school administrators in the Phetchaburi Primary Education Service Area, Office One; 2) to study human resources development among private school administrators of Phetchaburi Primary Education Service Area, Office One; 3) to study the relationship between strategic leadership and human resources development among private school administrators in the Phetchaburi Primary Education Service Area, Office One; and 4) to study the factors of strategic leadership affecting human resources development among private school administrators in the Phetchaburi Primary EducationService Area, Office One. The samples were consisted of two hundred and 242 teachers in private schools under the authority of the Phetchaburi Primary Education Service Area, Office one, in the 2017 academic year by using Krejcie and Morgan (1970:608). The stratified random sampling was performed by using school size as strata. The simple random sampling was applied thereafter by lottery. The instruments used for data collection includeda five-pointratingscalequestionnaires. The index of Item - Objective Congruence (IOC) was valued at 0.60-1.00 andtheCronbach's Alpha was .853. The reliability (α) of strategic leadership of private school administrators was .844 and the reliability (α) of human resources development among private school administrators was .863. The data analysis was performed by mean, standard deviation, the Pearson product-moment correlation coefficient, multiple correlation and the multiple regression analysis- enter method. The results of the research were as follows:1) The level of strategic leadership among private school administrators in the Phetchaburi Primary Education Service Area, Office one as a whole was at high level. When considering each individual aspect, the research was found to be at a high level in all aspects by descending order of the average as follows: strategic direction setting, control balance in the organization, effective organizational culture support, moralpractice focus and resource management in organization.2) The level of human resource development among private school administrators in the Phetchaburi Primary Education Service Area, Office one was at high level on the whole. When considering each individual aspect, the research was found to be at a high level in all aspects in descending order of the average as follows: human resources accountability, strategic alignment, human resource management efficiency, human resource management effectiveness and quality of work life. 3)There was a statistically significant and a moderately positive relationship at a level of .01 between strategic leadership and human resources development among private school administrators in the Phetchaburi Primary Education Service, Area Office oneand 4) The five aspects of strategic leadership mutually explained the human resources development among private school administrators in the Phetchaburi Primary Education Service Area, Office one, with a predictive power of 48.00 percent and at a .01 level of significance. Strategic leadership in the aspect of control balance in the organization affecting the human resources development of private school administrators with the highest level of affect, followed by strategic direction settings, effective organizational culture support and resources management in organization respectively. Only the emphasis on ethical practice had no effect on the human resources development of private school administrators. Keywords:Human Resources Development, Strategic LeadershipDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles