ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ

Authors

  • ปิยะวรรณ แวววรรณจิตต์
  • ชไมพร ดิสถาพร
  • จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1)ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ2) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ3)ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุและ4)ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 196 คนโดยกำหนดตามตารางเครจซี่และมอร์แกน(Krejcie; & Morgan. 1970: 608) จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้นแล้วทำการสุ่มอย่างง่ายโดยจับฉลากเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา .960 และค่าความเชื่อมั่นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา .965สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสหสัมพันธ์พหุคูณและสมการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้และด้านการมีรูปแบบความคิด 2. ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ด้านการจัดการด้านการเรียนการสอน และด้านการเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียน 3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ ในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(r) =.621 4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05โดยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุได้ร้อยละ39.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการมีอำนาจการพยากรณ์สูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการด้านการเรียนการสอน และด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ตามลำดับ คำสำคัญ:ภาวะผู้นำทางวิชาการ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา Abstact                     The purposes of this research were to study in following; the levelof learning organization educationalinstitutions in the Bangkok metropolitan ThungKhru district office;the level of academic leadership ateducationalinstitutions in the Bangkok metropolitan ThungKhru district office; the relationship between academic leadership ofschooladministrators and learning organizationnateducational institutions in the Bangkok metropolitan ThungKhru districtoffice ; academic leadership of school administrators affecting the learning organization ofeducationalinstitutions inthe Bangkok metropolitan ThungKhru district office. The samples consisted of 196 teachers ateducationalinstitutionsin the Bangkok metropolitan ThungKhru district office in 2017by using Krejcie& Morgan (1970: 608). The stratified random sampling was done by using school size as strata to use for calculate the sample size. Simple random sampling was done thereafter by lottery. The instruments used for data collection was a five rating scale questionnaires.IOC (IndexofItem- ObjectiveCongruence) was valued since 0.60-1.00.The reliability of learning organization ofeducationalinstitution was .960 and the reliability ofthe academicleadership ofeducationalinstitutions was .965. The statistics used for data analysis included mean, standard deviation, pearson product-moment correlation coefficient, multiple correlation and multiple regressionanalysis- enter method. The research results were found as following; 1. The level oflearning organization ateducationalinstitutions in the Bangkok metropolitan ThungKhru district officeas a whole was at a high level. The research found high levels in all aspects and in descending order, as follows: Shared Vision, team learning,systematic thinking and an individual who knows. 2. The level ofacademic leadership ateducationalinstitutions in the Bangkok metropolitan ThungKhru district office as a whole was at a high level. The research found high levels in all aspects and in descending order, as follows: school mission definition, instructional management and to enhance the academic atmosphere of the school, respectively.                     3. The academic leadership ofeducationalinstitutions had a statistically significant correlation with learning organization ofeducationalinstitutions in the Bangkok metropolitan ThungKhru district office at a level of .01 (r) =.621showed that  the two variables had a positiverelationship at relatively high level.                     4. Academic leadership of school administrators affecting learning organization of educational Institutions in the Bangkok metropolitan ThungKhru District Office.The factors affecting the learning organization ofeducationalinstitutions in the Bangkok metropolitan ThungKhru district officewas at a level of .05. The predictive power was at 39.80 percent.The aspect of enhancing the academic atmosphere of the school with the highest predictive power, then instructional management and school mission definition, respectively. Keywords:AcademicLeadership,Learning organization ateducationalinstitutions.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads