การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้

Authors

  • จีราวดี ศุภวิริยากรณ์
  • สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์
  • อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการและระดับการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการและระดับการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือครู ในสังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงธนใต้ จำนวน 335 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามมาได้จำนวน 304 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.74 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .96 ค่าความเชื่อมั่นการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .94 และค่าความเชื่อมั่นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงธนใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกระบวนการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ ด้านวัตถุประสงค์การบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ ด้านลักษณะการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะ และด้านนโยบายการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงธนใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้        การสื่อสารเป้าหมาย การจัดการหลักสูตร และการกำหนดภารกิจ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ พบว่าอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการทุกด้านร่วมกันส่งผลต่อการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ ได้ร้อยละ 80.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : การบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะ, ภาวะผู้นำทางวิชาการ Abstract The purposes of this research were 1) to develop the instructional leadership level and level of public-minded administration among school administrators; 2) the relationship between instructional leadership and public-minded administration level of school administrators; and 3) effects on public-minded administration of school administrators under the authority of the Bangkok Metropolitan Administration, Southern Krungthon Group. The samples consisted of three hundred and thirty-five teachers in the schools under the authority of the Bangkok Metropolitan Administration, Southern Krungthon Group using stratified random sampling. There were three hundred and four questionnaires collected, which accounted for 90.74% of the total. The instruments used for data collection included a five point-rating scale questionnaire. The IOC was valued from .60 to 1.00 and the level of public-minded administration among school administrators were .96. The relationship between instructional leadership was .94 and the administrative skills among school administrators was .94. The data analysis was performed using mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and enter multiple regression analysis. The results of the research were as follows: 1) the level of public-minded activity management of the administrators of the Bangkok Metropolitan Administration Southern Krungthon Group, were found to be at a high level, overall. When considering each side, it was found that all of the levels were high. The mean order from the least to the least was a process of managing public-minded activities. The objective of public-minded activity management, the nature of public-minded activities, and public administration and instructional leadership was also at a high level, overall. When considering each aspect, it was found that each of the aspects were at high level. The average order from descending order was to promote a learning atmosphere; 2)to target communications curriculum management and mission assignments; 3) relationships between instructional leadership and public-minded activity management. The results of this study revealed that the Southern Krungthon Group was at a high level (r = .897) and at a .01 level for administrators at theBangkok Metropolitan Administration, Southern Krungthon Group at 80.60% and a level of .05 statistical significance. Keywords: Public-minded administration, Instructional leadership

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads