ทักษะการบริหารที่ส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ระดับการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน 2) ระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนและ 4) ทักษะการบริหารที่ส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 338 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามมาได้จำนวน 306 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.53 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .96 ค่าความเชื่อมั่นการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเท่ากับ .94 และค่าความเชื่อมั่นทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ด้านการกำหนดทิศทางขององค์กร ด้านการกำหนดกลยุทธ์ด้านการควบคุมกลยุทธ์ และด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 2. ระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการศึกษาและการสอน ด้านความคิดรวบยอด ด้านมนุษย์ ด้านเทคนิค และด้านความรู้ความคิด 3.ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่าอยู่ในระดับสูง (r = .897) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนด้านความรู้ความคิด มีความสัมพันธ์กับการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความคิดรวบยอด ด้านเทคนิค ด้านมนุษย์ และด้านการศึกษาและการสอน ตามลำดับ 4. ทักษะการบริหารทุกด้านร่วมกันส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ได้ร้อยละ 80.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะ การบริหารของผู้บริหารโรงเรียนด้านความรู้ความคิดส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านมนุษย์ ด้านเทคนิค ด้านการศึกษาและการสอน และด้านความคิดรวบยอด ตามลำดับ คำสำคัญ : การวางแผนกลยุทธ์, ทักษะการบริหาร Abstract The purposes of this research were to study 1) the level of strategic planningamong school administrators; 2) administrative skills among school administrators; 3) the relationship between the administrative skills and strategic planning among school administrators; and 4) to administrate skills and affective strategic planning among school administrators under the authority of the Buriram Primary Educational Service Area, Office Two. The samples consisted of three hundred and thirty-eight teachers in the schools under the authority of the Buriram Primary Educational Service Area, Office Two using stratified random sampling. There were three hundred and six questionnaires collected, which accounted for 90.53% of the total. The instruments used for data collection included a five point-rating scale questionnaire. The IOC was valued from .60 to 1.00 and reliability of the questionnaires were .96, the strategic planning among school administrators was .94 and the administrative skills among school administrators was .94. The data analysis was performed by mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The results of the research were as follows: 1. The level of strategic planning among school administrators under the authority of the Buriram Primary Educational Service Area, Office Two was at a high level as a whole. When considering each aspect, they were ranked at a high level in descending order of the average, as follows; strategy implementation, establishment organizational direction, strategy formulation, strategy control and environmental analysis. 2. The level of administrative skills among school administrators under the authority of the Buriram Primary Educational Service Area, Office Two was at a high level as a whole. When considering each aspect, they were ranked at a high level in descending order of the average, as follows; educational and instructional skills, conceptual skills, human skills, technical skills and cognitive skills. 3.The relationship between the administrative skills and strategic planning among school administrators under the authority of the Buriram Primary Educational Service Area, Office Two was at a high level (r = .897) at a .01 level of significance.The aspect of cognitive skills had the highest relationship followed by conceptual skills, technical skills, human skills and educational and instructional skills respectively. 4. All aspects of administrative skills mutually affected the strategic planning among school administrators under the authority of the Buriram Primary Educational Service Area, Office Two with 80.60 percent at a .05 level of significance.The aspect of cognitive skills had the highest factoring terms of affecting the strategic planning of school administrators followed by human skills, technical skills, educational and instructional skills and conceptual skills respectively. Keywords: Strategic Planning, Administrative SkillsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles