ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับความพึงพอใจของข้าราชการครูต่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครูต่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับความพึงพอใจของข้าราชการครูต่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนของข้าราชการครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีมีค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมโรงเรียน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านหลักความซื่อสัตย์ ด้านหลักความไว้วางใจ ด้านหลักความเอื้ออาทร ด้านหลักความหลากหลายของบุคลากร ด้านหลักการความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ด้านหลักความมีคุณภาพ ด้านหลักการยอมรับ ด้านหลักความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน ด้านหลักการมอบอำนาจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านหลักการตัดสินใจ 2) ระดับความพึงพอใจของข้าราชการครูต่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการบริหารงานธุรการ การเงินและพัสดุ ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคลากร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารงานกิจการนักเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับความพึงพอใจของข้าราชการครูต่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมากที่สุด (rxy= .870) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: วัฒนธรรมโรงเรียน, ความพึงพอใจการบริหารสถานศึกษา Abstract This research was aimed at studying: 1) School culture at schools under the Chonburi Provincial Administrative Organization; 2) Teacher satisfaction toward school management under the Chonburi Provincial Administrative Organization and 3) The relationship between school culture and teacher satisfaction toward school management under the Chonburi Provincial Administrative Organization. The subjects in this study were composed of 190 teacher representatives from schools under the Chonburi Provincial Administrative Organization in the 2016 academic year. Instrumentation was composed of questionnaires. The statistics used in data analysis were percent, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. According to the findings: 1) From both overall and individual perspectives, school culture among teachers under the Chonburi Provincial Administrative Organization was high. School culture was found to be the highest in the area of honesty principles, followed by personnel diversity principles, generosity principles, quality principles, trust principles and principles in feeling as part of the school. These were followed by acceptance principles, school objectives and authorization principles. The area with the lowest mean score was decision-making principles. 2) From both overall and individual perspectives, teacher satisfaction toward school management under the Chonburi Provincial Administrative Organization was high. The management of school-community relationships was found to be the highest level, followed by administration, finance and post management, facility and environment management, academic management and personnel work management while the area with the lowest mean score was student affairs management. 3) School culture and teacher satisfaction toward school management under the Chonburi Provincial Administrative Organization were positively correlated at the highest level (rxy= .870) with statistical significance at .05. Keywords: School culture, satisfaction toward school management.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles