กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเทศบาล 1 (เวียงเชียงแสน) สังกัดเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Authors

  • ธาริณี จินดาธรรม

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาสมรรถนะครู 2) สร้างกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครู 3) ทดลองใช้กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครู และ 4) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .893 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าฐานนิยม และ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Priority Needs Index : PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะของครูโรงเรียนเทศบาล 1 (เวียงเชียงแสน) โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการจำเป็นเร่งด่วน เรียงลำดับตามความสำคัญคือ ด้านการวิเคราะห์สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 2. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเทศบาล 1 (เวียงเชียงแสน) ครอบคลุม 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) กลยุทธ์การพัฒนาครูสู่นักวิจัย 2) กลยุทธ์การพัฒนาตนเองด้วยเครือข่ายการเรียนรู้ 3) กลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และ 4) กลยุทธ์การพัฒนางานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3. การนำกลยุทธ์ไปทดลองให้ครูใช้ ปรากฏว่า ครูพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานโดยภาพรวมและรายกลยุทธ์อยู่ในระดับมาก โดยได้รับความรู้อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ กลยุทธ์การพัฒนาครูสู่นักวิจัย กลยุทธ์พัฒนางานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และ กลยุทธ์การพัฒนาตนเองด้วยเครือข่ายการเรียนรู้ตามลำดับ ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือกลยุทธ์การพัฒนาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์การพัฒนาตนเองด้วยเครือข่ายการเรียนรู้ กลยุทธ์การพัฒนาครูสู่นักวิจัย และกลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ตามลำดับ ครูมีสมรรถนะจากการประเมิน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ สมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 4. กลยุทธ์มีความเหมาะสมและความครอบคลุมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: กลยุทธ์การพัฒนา, สมรรถนะครู, สมรรถนะหลัก, สมรรถนะประจำสายงาน   Abstract This research aimed 1) study the present state and needs of competency development for teacher,    2) create the strategy of competency development for teachers, 3) test the strategy of competency development for teachers, and 4) evaluate the strategy of competency development for teachers. . The tool which was used for this research was questionnaires, Rating Scale 4 Level, reliability about 0.893  The statistics which were used to analyze information were percentage, mean, standard deviation , mode and  Priority Needs Index (PNI modified) The result of research was found that 1. The overview and each aspect of the competency of teachers of Tessaban 1 (Wiangchiangsaen) School were at high level. It was urgent according to the needs were analysis-synthesis and research for learners’ development aspect, self-development aspect, curriculum and learning management aspect,and the performance outcomes aspect. 2. The strategies of competency development of Tessaban 1 (Wiangchiangsae)’s teachers covered 4 core strategies i.e. 1) to develop teachers to be researchers strategy, 2) self-development with learning networks strategy, 3) curriculum development and learning management strategy, and 4) work development for performance outcome strategy, 3. The results after testing showed that the overview and each strategy of competency development were at high level with high perceptions, i.e. to develop teachers to be researchers strategy, work development for performance outcome strategy, curriculum development and learning management strategy, and self-development with learning networks strategy, respectively. The level of teachers’ satisfactions towards strategies was at high level, i.e. work development for performance outcome strategy, self-development with learning networks strategy, to develop teachers to be researchers strategy, and curriculum development and learning management strategy, respectively. The teachers’ competency evaluated from work performance in overview and each aspect were at high level, i.e. self-development aspect, analysis-synthesis and research for learners’ development aspect, curriculum and learning management aspect, and performance outcomes aspect, respectively, and 4. The appropriateness and the coverage of the strategies were at highest level. The possibility and the utilization of the strategies were at high level.   Keywords: Development Strategy, Teacher Competency, Core Competency, Functional Competency.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads