การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้วิจัยนำแนวทางของการสร้างรูปแบบจากขั้นตอน ที่ 1 ร่างเป็นแบบสอบถามและให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบ (Content Validity) และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเป็นรายข้อ (CVI : Content Validity Index for Item) ได้ค่า CVI = 1 ทุกข้อ ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยนำร่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์มากำหนดเป็นประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คนเพื่อหาความเหมาะสมและความถูกต้องและขั้นตอนที่ 4 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเหมาะสมประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย 50 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านการคิดสร้างสรรค์ 10 ข้อ ประกอบด้วย 1.1 มีความสามารถคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนในการบริหารงาน 1.2 มีความสามารถคิดสร้างสรรค์หรือนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารงาน 1.3 มีความกระตือรือร้นในการคิดสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา 1.4 มีสมาธิและมุ่งมั่นในการทำงาน 1.5 มีความสามารถในการกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในการทำงาน 1.6 มีความเฉลียวฉลาดและมีปฏิภาณไหวพริบในการทำงาน 1.7 เป็นบุคคลผู้มีวิสัยทัศน์และสามารถสร้างสรรค์ให้เป็นจริงได้ 1.8 เป็นคนช่างสังเกต โดยมองเชิงบูรณาการและแบบองค์รวม 1.9 มีความสามารถเปิดใจ เปิดรับประสบการณ์ แนวทางใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น 1.10 มีความสามารถฝึกฝนทักษะการคิดเพื่อนำมาป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น 2) ด้านการทำงานเป็นทีม 10 ข้อ ประกอบด้วย 2.1 มีความสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานเป็นทีมอย่างชัดเจนโดยทีมมีส่วนร่วม 2.2 มีความสามารถวางแผนการทำงานเป็นทีมโดยยึดมติเสียงข้างมาก 2.3 ดำเนินการและจัดให้มีการติดต่อสื่อสารการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ 2.4 สามารถสร้างบรรยากาศของการทำงานเป็นทีมอย่างอบอุ่นเป็นกันเอง 2.5 ให้ความไว้วางใจและมอบหมายงานสำคัญให้สมาชิกในทีมงาน 2.6 ให้ความเคารพความคิดเห็นในการตัดสินใจของสมาชิกในทีมงาน 2.7 สามารถกำหนดมอบหมายงานตามความเหมาะสม ความสนใจตามความสามารถของทีมงาน 2.8 จัดให้มีการนิเทศและจัดกิจกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจแก่ทีมงาน 2.9 จัดให้มีการกำกับดูแลให้การทำงานเป็นทีมเป็นไปตามเป้าหมาย 2.10 สามารถสนับสนุน ส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการทำงานเป็นทีม 3) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 10 ข้อ ประกอบด้วย 3.1 สามารถกระตุ้นให้บุคลากรทำงานเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 3.2 สามารถเสริมสร้างกำลังใจบุคลากรในการฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลายสู่ความสำเร็จที่ต้องการ 3.3 เป็นบุคคลที่ทุ่มเทเสียสละเพื่อให้การบริหารงานประสบผลสำเร็จ 3.4 คอยให้กำลังใจ ยกย่องชมเชยบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ 3.5 สามารถเปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงความสามารถโดยเน้นการคิดในเชิงบวก 3.6 สนับสนุน ส่งเสริมให้บุคลากรทุ่มเทความสามารถในการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ 3.7 ดำเนินการจัดสวัสดิการผลตอบแทนให้แก่บุคลากร อย่างเหมาะสมทั่วถึง 3.8 สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคลากรเพื่อให้เกิดความราบรื่นในการทำงาน 3.9 สร้างความมั่นใจและส่งเสริมให้บุคลากร ทำงานอย่างเต็มความสามารถ 3.10 สามารถสร้างบรรยากาศการติดต่อสื่อสารแบบเปิดเพื่อให้บุคลากรเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ 4) ด้านการแก้ปัญหา 10 ข้อ ประกอบด้วย 4.1 มีการรวบรวมข้อมูลปัญหาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 สามารถกำหนดประเด็นปัญหาได้อย่างชัดเจน 4.3 มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาหลากหลายอย่างครบถ้วน 4.4 สามารถศึกษาค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น 4.5 สามารถใช้เทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม 4.6 สามารถตัดสินใจโดยเลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา 4.7 มีความสามารถในการแก้ปัญหาโดยเน้นความพึงพอใจของบุคลากร 4.8 สามารถแก้ปัญหาได้โดยคำนึงถึงการได้ประโยชน์สูงสุดของสถานศึกษา 4.9 สามารถค้นหาทางเลือกที่มีความเหมาะสมที่สุดเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมาย 4.10 มีการดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุงติดตามการแก้ปัญหาทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการบริหารงาน 5) ด้านการเน้นผู้รับบริการ 10 ข้อ ประกอบด้วย 5.1 ดำเนินการจัดให้มีการสำรวจความต้องการและความจำเป็นของผู้รับบริการ 5.2 สามารถออกแบบและวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับผู้รับบริการ 5.3 สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับบริการ 5.4 สามารถปรับปรุงวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ 5.5 รับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการ 5.6 สามารถหาวิธีพัฒนาบุคลากรเพื่อให้การบริการที่มีประสิทธิภาพ 5.7 ส่งเสริม สนับสนุน ให้รางวัลแก่ผู้ให้การบริการที่มีคุณภาพ 5.8 สามารถสร้างความประทับใจ ความมั่นใจและพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 5.9 สามารถจัดระบบการให้บริการที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว 5.10 ดำเนินการและจัดให้มีการใช้ช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงการบริการแก่ผู้รับบริการ 2. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ความเป็นไปได้โดยรวมของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การทำงานเป็นทีม การเน้นผู้รับบริการ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างแรงบันดาลใจและการแก้ปัญหา โดยมีความสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้ในสถานการณ์จริง คำสำคัญ การพัฒนารูปแบบ, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น Abstract This research titled “A Development of Creative Leadership Model of Education Institute Administrators under Local Administrative Organization” had the objectives to develop creative leadership model of education institute administrators under Local Administrative Organization and evaluate the feasibility of the creative leadership model of education institute administrators under Local Administrative Organization. The research methodology was conducted in 4 stages. Stage 1: Studying document and related research, and interviewing 5 experts acquired by purposive sampling. Stage 2: Building creative leadership model of education institute administrators under Local Administrative Organization. The researcher utilized guidelines for building the model in Stage 1 in drafting a questionnaire. Then 5 experts were asked to examine its content validity. The acquired data were analyzed by means of Content Validity Index for Item: CVI which yielded the CVI value of 1. Stage 3: Developing creative leadership model of education institute administrators under Local Administrative Organization. The researcher brought a draft of creative leadership model as the issues for a focus group discussion of 10 experts in order to find its appropriateness and accuracy. Stage 4: Evaluating the feasibility of the creative leadership model of education institute administrators under Local Administrative Organization. A seminar was arranged in which questionnaire was distributed to 30 participants. They were administrators of Local Administrative Organization and education institute administrators acquired by purposive sampling. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation. The research findings were as follows. 1. The creative leadership model of education institute administrators under Local Administrative Organization was accurate and appropriate. It consisted of 5 components, i.e. 1) Creative thinking10 items, 2) Teamwork 10 items, 3) Inspiration building 10 items, 4) Problem solving 10 items, and 5) Service recipient-focused 10 items; totally 50 sub-components. 2. The results of the examination of the creative leadership model of education institute administrators under Local Administrative Organization found as follows. It had the feasibility level at the highest level. When considered individual components found all were at the highest level. They were arranged in descending order of mean: Teamwork, Service recipient-focused, Creative thinking, Inspiration building, and Problem solving. They were in accordance with practical guidelines, capable of bringing into practice in real situations. Keywords: A Development of Model, Creative Leadership, Local AdministrativeDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles