การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนแบบห้องเรียน เสมือนของมหาวิทยาลัยเอกชน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเอกชน โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีอยู่ 2 กลุ่มคือ อาจารย์และนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนเสมือน ของมหาวิทยาลัยเอกชนทั่วประเทศ โดยเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนเป็นหลัก จำนวน 8 แห่ง ๆ ละ 2 ห้องเรียนโดยกระจายตามภาคทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกใช้ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนที่เลือกแต่ละมหาวิทยาลัย ๆ ละ 2 ห้องเรียน จำนวน 80 คน รวม 640 คน และแบบสัมภาษณ์ (Semi-structural Interview) อาจารย์ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนแห่งละ 3 คน รวม 24 คน โดยสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ทักษะความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ การรับรู้คุณค่าของเทคโนโลยีการสื่อสาร วัฒนธรรมการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ ความร่วมมือกันในองค์กร มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของห้องเรียนเสมือน ผลการวิจัยพบว่ามีเพียง 4 ปัจจัยเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ คือ 1) การรับรู้คุณค่าของการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน สามารถกระตุ้นให้อยากเรียน และแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์และเพื่อน ๆ มากขึ้น 2) วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ทำให้ผู้เรียนใน 8 มหาวิทยาลัยเอกชนยังมีวัฒนธรรมการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนมักจะยินดีปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์กำหนดให้อย่างเคร่งครัด 3) วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านความเป็นปัจเจกนิยม/กลุ่มนิยม เป็นวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนมีความเป็นกลุ่มนิยม มากกว่าที่จะเป็นปัจเจกนิยมผู้เรียนชอบทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้โดยผ่านสื่อออนไลน์กับเพื่อนเป็นกลุ่ม มากกว่าที่จะทำงานคนเดียว โดยมีความเชื่อใจกันในระหว่างเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญที่ยึดเหนี่ยวสัมพันธภาพภายในกลุ่ม และถ้าได้รับมอบหมายให้ทำงานคนเดียวแล้วจะมีความมั่นใจว่าสามารถทำให้งานสำเร็จได้น้อยกว่าการทำงานกลุ่ม และ 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน ได้แก่ ทักษะและความชำนาญในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียน โดยคุณภาพการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นคำสำคัญ: ห้องเรียนเสมือน กระบวนการเรียนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ
Article Details
How to Cite
สมนา ฬ. (2016). การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนแบบห้องเรียน เสมือนของมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/7275
Section
บทความวิจัย (Research Articles)