การศึกษาหาองค์ประกอบของโปรแกรมประยุกต์เสริมสร้างศักยภาพ การบริหารวิสาหกิจชุมชนเชิงนวัตกรรมของชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบ ในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม

Development Applications Program to EnhanceInnovation Management for Community’s Suppliers of Raw Materials in Supply Chains of Social Enterprise

Authors

  • ภูธิป มีถาวรกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พิทักษ์ ศิริวงศ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธีระวัฒน์ จันทึก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

องค์ประกอบของโปรแกรมประยุกต์, เสริมสร้างศักยภาพการบริหาร, วิสาหกิจชุมชนเชิงนวัตกรรม, ชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบของกิจการเพื่อสังคม

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหาองค์ประกอบของโปรแกรมประยุกต์เสริมสร้าง ศักยภาพการบริหารวิสาหกิจชุมชนเชิงนวัตกรรมของชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการ เพื่อสังคมโดยที่เป็นการ รวบรวมข้อมูลแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดย การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การวิจัยอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research: EDFR) ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อหาองค์ประกอบของโปรแกรมประยุกต์เสริมสร้างศักยภาพการบริหารวิสาหกิจ ชุมชนเชิงนวัตกรรมของชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคมให้กับวิสาหกิจ ชุมชน โดยการวิจัยนี้ได้ประยุกต์เทคนิคเชิงปริมาณประเมินกลยุทธ์ตามคะแนน Cohen’s Kappa เพื่อการศึกษาหาองค์ประกอบของโปรแกรมประยุกต์เสริมสร้างศักยภาพการบริหารวิสาหกิจชุมชน เชิงนวัตกรรมของชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม และ วิสาหกิจชุมชนผู้ ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง จังหวัดปราจีนบุรีซึ่งเป็น ชุมชนผู้ผลิต วัตถุดิบสมุนไพรให้กับกิจการเพื่อสังคม มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบที่จะนำ ไปพัฒนาโปรแกรมประยุกต์หรือแอฟพริเคชั่นเสริม สร้างศักยภาพวิสาหกิจชุมชนไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนเชิงนวัตกรรม มีจำ นวน 6 องค์ประกอบหลัก คือ การเงินหรือเงินทุน (Money) กำลังคนหรือสมาชิก (Man) อุปกรณ์หรือเครื่องจักร (Machine) การจัดการ (Management) การแบ่งปัน (Sharing) และ การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ผลการวิเคราะห์โปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจชุมชนไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนเชิงนวัตกรรม วิเคราะห์สถิติค่า Cohen’s Kappa มีระดับความสอดคล้องในระดับดีคือ โปรแกรมใช้ได้ตาม วัตถุประสงค์ อีกทั้งนวัตกรรมแพลตฟอร์มเป็นเรื่องที่ใหม่กับชุมชนโดยที่สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่ เป็นวัยกลางคน ดังนั้นต้องออกแบบกระบวนการการใช้งานให้เข้าใจและเข้าถึงง่าย แต่ที่สำคัญที่สุด นวัตกรรมแพลตฟอร์มที่ได้จัดทำขึ้นมาต้องสามารถตอบจุดประสงค์ แก้ปัญหา หรือ พัฒนาชุมชนได้ โดยนำ องค์ประกอบแนวคิดทฤษฎีทางการจัดการมาอยู่เบื้องหลังโดยที่ปรัชญาที่อยู่เบื้องหลัง นวัตกรรมแพลตฟอร์มนี้คือระบบการจัดการที่จะมาตอบโจทย์ในทุกห่วงโซ่อุปทานของชุมชนผู้ผลิต วัตถุดิบ

References

กัลยานาค ลังกา, ณัฐกานต์ รองทอง, คฑาวุฒิ สังฆมาศ, วงศ์วิภา โถสุวรรณจินดา, อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน์,ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์, และ พัฒนพงษ์ จันทร์ควง. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของสหกรณ์เคหสถาน ชุมชนริมคลองลาดพร้าว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร,9(2): 120-133.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสําาหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(มกราคม-ธันวาคม 2558): 375-396.

สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: จูนพับลิชชิ่ง

สํานักนวัตกรรมแห่งชาติ. (2550). รายงานผลการสําารวจขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทย.กรุงเทพฯ:สําานักงานนวัตกรรมแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2514). การบริหาร. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เกษมสุวรรณ.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). การเพิ่มมูลค่าผลผลิต. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก http://www.nesdb.go.th

สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). วิสาหกิจชุมชนน่ารู้. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก www.sceb.doae.go.th

เอกพิชญ์ ชินะข่าย. (2561). พัฒนาการแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําาปาง, 7(1): 157-167.

Betje, P. (1998). Technological Change in the Modern Economy: Basic Topics and New Developments. Cheltenham: Edward Elgar.

Botsman, R., & Rogers, R. (2010). What’s Mine Is Yours: The Rise of Collaborative Consumption. New York, NY: HarperBusiness.

Bradly, Andrew. (2015). The Business-Case for Community Investment: Evidence From Fiji’s Tourism Industry. Social Responsibility Journal, 11(2): 242-257.

Burke, W. & D. Bradford. (2005). The Crisis in OD in Reinventing Organization Development. San Francisco: John Wiley & Sons.

Chaiso, K. & Sukvichai, K. (2015). Comparison of Deep Learning Algorithms Based onFace Recognition. ITC-CSCC: International Technical Conference on Circuits Systems, Computers and Communications, South Korea, 579-582.

Gopalakrishnan, S. & Bierly, P. (1997). Organizational Innovation and Strategic Choices: A Knowledge-Based View. Academy of Management Proceedings, USA, 1997(1): 422-426.

Fine, K. (1980). First-order Modal Theories. Studia Logica, 39(2-3): 159-202.

Fleiss, J. L., Levin, B. & Paik, M. C. (2003). Statistical Methods for Rates and Proportions.3rd ed. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Laroche, M., M.R. Habibi, M.O. Richard & R. Sankaranarayanan. (2012). The Effects of Social Media Based Brand Communities on Brand Community Markers, Value Creation Practices, Brand Trust and Brand Loyalty. Comput. Hum.Behav., 28(5): 1755-1767.

MacLeod, C.M. (1991). Half A Century of Research on the Stroop Effect: An Integrative Review. Psychological Bulletin, 109(2): 163.McMillan, Thomas T. (1971). The Delphi Technique. Retrieved on March 20, 2020, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED064302.pdf

Phongphit, S. (2005). Thinking Base: From Master Plan to Community Enterprise.Bangkok: Palangpanya.

Wirtz, J., den Ambtman, A., Bloemer, J., Horváth, C., Ramaseshan, B., Van De Klundert, J., Canli, Z.G. and Kandampully, J. (2013). Managing Brands and Customer Engagement in Online Brand Communities. Journal of Service Management,24(3): 223-244.

Downloads

Published

2024-04-29