ตัวแบบพยากรณ์โอกาสการมีสถานภาพรอพินิจของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ (ACADEMIC PROBATION’S PROBABILITY FORECASTING MODEL FOR UNDERGRADUATE STUDENTS AT THAKSIN UNIVERSITY)

Authors

  • วรางคณา เรียนสุทธิ์ Thaksin University, Phatthalung Campus.

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การสร้างตัวแบบพยากรณ์โอกาสการมีสถานภาพรอพินิจของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยพิจารณาปัจจัย จำนวน 14 ปัจจัย ที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อสถานภาพของนิสิต ได้แก่ ด้านส่วนบุคคล ด้านระดับความรู้พื้นฐานก่อนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ด้านพฤติกรรมการเรียน ด้านความเชื่อในศักยภาพของตนเอง ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมการสอน ด้านบรรยากาศในห้องเรียน ด้านหลักสูตร ด้านสาขาวิชาที่ศึกษาอยู่ ด้านสถาบันการศึกษา ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกลุ่มเพื่อน และด้านครอบครัว ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 599 คน นำมาใช้สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์โอกาสการมีสถานภาพรอพินิจด้วยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก และตัวอย่างอีกจำนวน 128 คน นำมาใช้สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของตัวแบบพยากรณ์ที่สร้างขึ้น ตัวอย่างทั้ง 2 ชุดได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างมีระบบวงกลม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.984 ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบพยากรณ์ที่สร้างขึ้นมีค่าร้อยละความถูกต้องในการจำแนกกลุ่มสถานภาพของนิสิต ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สถานภาพปกติ และสถานภาพรอพินิจ เท่ากับ ร้อยละ 82.68คำสำคัญ: ปัจจัย  รอพินิจ  การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกThe objective of this research was to create a forecasting model of the academic probation’s probability of undergraduate students at Thaksin University. Influential expected factors were factors of individual, basic knowledge before entering university, study habits, faith their potential, achievement motivation, lecturer, teaching behavior, classroom climate, curriculum, study field, educational institution, environmental, friends, and family. Samples used to study were 599 undergraduate students of Thaksin University who enrolled in the first semester of academic year 2015. This first sample was applied for the modeling to forecast the academic probation’s probability of undergraduate students at Thaksin University, by logistic regression analysis. The second sample of 128 undergraduate students applied for checking the accuracy of the forecasting model. All two samples obtained by circular stratified systematic sampling method. The data were collected by using questionnaire which had the reliability equal to 0.984. The result showed that the forecasting model had the percentage accuracy in the classification of academic probation of undergraduate students into 2 groups, normal status and academic probation, equals to 82.68%.Keywords: Factor, Probation, Logistic Regression Analysis

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วรางคณา เรียนสุทธิ์, Thaksin University, Phatthalung Campus.

Department of Mathematics and Statistics, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung Campus.

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

เรียนสุทธิ์ ว. (2017). ตัวแบบพยากรณ์โอกาสการมีสถานภาพรอพินิจของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ (ACADEMIC PROBATION’S PROBABILITY FORECASTING MODEL FOR UNDERGRADUATE STUDENTS AT THAKSIN UNIVERSITY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(18, July-December), 192–206. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/9586