ตัวแบบพยากรณ์จำนวนผู้ว่างงานในประเทศไทย (FORECASTING MODEL FOR THE NUMBER OF UNEMPLOYED PERSON IN THAILAND)

Authors

  • วรางคณา กีรติวิบูลย์ Thaksin University, Phatthalung Campus.

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การศึกษาและพยากรณ์จำนวนผู้ว่างงานในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 จำนวน 52 ค่า ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 คือ ข้อมูลตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2556 จำนวน 48 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีการทางสถิติ 2 วิธี ได้แก่ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ ชุดที่ 2 คือ ข้อมูลตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 จำนวน 4 ค่า สำหรับการตรวจสอบความแม่นของตัวแบบพยากรณ์ด้วยเกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย และเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า วิธีบอกซ์-เจนกินส์มีความแม่นมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ค่าพยากรณ์ของทั้ง 2 วิธี มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคำสำคัญ: ผู้ว่างงาน  บอกซ์-เจนกินส์  การปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลัง  เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย  รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยThe purpose of this research was to study and forecast the number of unemployed person in Thailand. The data gathered from the website of Social and Quality of Life Database System during the first quarter, 2002 to the fourth quarter, 2014 (52 values) were used and divided into two categories. The first category had 48 values, which were the data during the first quarter, 2002 to the fourth quarter, 2013 for the modeling by the methods of Box-Jenkins and Winters’ multiplicative exponential smoothing. The second category had 4 values, which were the data from all four quarters in 2014 for checking the accuracy of the forecasting models via the criteria of the lowest mean absolute percentage error and root mean squared error. The results showed that, Box-Jenkins method was the most accurate. However, the forecast values of two methods were reliable because there was no statistically significant difference.Keywords: Unemployed Person, Box-Jenkins, Exponential Smoothing, Mean Absolute Percentage Error (MAPE), Root Mean Squared Error (RMSE)

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วรางคณา กีรติวิบูลย์, Thaksin University, Phatthalung Campus.

Department of Mathematics and Statistics, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung Campus.

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

กีรติวิบูลย์ ว. (2017). ตัวแบบพยากรณ์จำนวนผู้ว่างงานในประเทศไทย (FORECASTING MODEL FOR THE NUMBER OF UNEMPLOYED PERSON IN THAILAND). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(18, July-December), 179–191. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/9584