สุขภาวะทางจิต ความคิดเชิงบวก คุณค่าของงาน และความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • ทรงสมร โสตะ Kasetsart University.

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสุขภาวะทางจิต ระดับคุณค่าของงาน ระดับความคิดเชิงบวก และระดับความผูกพันต่อองค์การของครูระดับมัธยมศึกษา 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของครูระดับมัธยมศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรแต่ละตัวจำนวนทั้งสิ้น 3 ตัว ได้แก่ สุขภาวะทางจิต ความคิดเชิงบวก และคุณค่าของงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของครูระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประชากรที่ใช้ศึกษาคือครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 4 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 597 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 306 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test, Least Significant Difference (LSD) และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า สุขภาวะทางจิต ความคิดเชิงบวก คุณค่าของงาน และความผูกพันต่อองค์การของครูอยู่ในระดับสูงทั้งหมด ครูที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการทำงาน และรายได้ที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 เมื่อหาค่าสัมประสิทสหสัมพันธ์ พบว่า สุขภาวะทางจิตโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ คุณค่าของงานโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ และความคิดเชิงบวกโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001คำสำคัญ: สุขภาวะทางจิต  ความคิดเชิงบวก  คุณค่าของงาน  ความผูกพันต่อองค์การThe Objectives of this research were: 1) to study the level of psychological well-being, positive thinking, work values and commitment to organization of the teachers, 2) to compare commitment to organization of the teachers, 3) to study the relationship between psychological well-being and commitment to organization of the teachers, work values and commitment to organization of the teachers and positive thinking and commitment to organization of the teachers. The samples used in this research were 310 secondary school teachers at Pakkret, Nonthaburi province; (SuankularbNonthaburi, Pakkret, Potinimit and Nawamintharachinuthit HorwangNonthaburi). The samples were collected by questionnaires and analyzed by a statistic package program. The method that used in statistic for analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, Least Significant Difference (LSD) and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.The results were as follows: 1) psychological well-being, positive thinking, work values and commitment to organization were the high level of all, 2) the teachers who had difference in age, marital status, amount of working time and compensation had different commitment to organization with the statistical significance at .01 and .05 level respectively, And 3) there were positive correlation between 2 factors: psychological well-being and commitment to organization, work values and commitment to organization and positive thinking and commitment to organization with the statistical significance at .001 level.Keywords: Psychological Well-being, Positive Thinking, Work Values, Commitment to Organization

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ทรงสมร โสตะ, Kasetsart University.

Department of Community Psychology, Faculty of Social Science, Kasetsart University.

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

โสตะ ท. (2017). สุขภาวะทางจิต ความคิดเชิงบวก คุณค่าของงาน และความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(18, July-December), 60–71. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/9576