สืบสานวัฒนธรรมการสร้างเรือนหลวง: สายใยแห่งความรักต่อผู้วายชนม์

Authors

  • วิสา อัศเวศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Abstract

จากผลงานวิจัยเรื่องรูปแบบเรือนหลวง ในจังหวัดจันทบุรี พบว่า พระเมรุมาศและพระเมรุที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระเมรุที่อยู่ในอาคาร โบสถ์ วิหารของวัด ศิลปะการฉลุสลักหยวก ปราสาทรามัญหรือโลงมอญ และการทำหนังตะลุงเป็นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นของชาติไทย ที่หาชาติใดในโลกเสมอเหมือนมิได้ ความงามอันวิจิตรที่บรรจงสร้างสรรค์นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจที่ ก่อให้เกิดอิทธิพลต่อชนรุ่นหลังในการสร้างเรือนหลวงเป็นศิลปะตกแต่งเพื่อใช้ในงานพิธีศพของสามัญชนทั่วไป ที่มีมาแต่โบราณของท้องถิ่นเมืองจันทบุรี แสดงให้เห็นถึงความนิยม และความพึงพอใจของผู้ที่เป็นเจ้าภาพ เป็นการสร้างสรรค์ความงามอันวิจิตรตระการตาเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับและนิยมที่จะเผาเมื่อเสร็จสิ้นงานฌาปนกิจศพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้รวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มาของการสร้างเรือนหลวง ดังนี้1. ความเชื่อ2. สิ่งบันดาลใจในการสร้างรูปแบบเรือนหลวงของช่าง3. การตกแต่งรายละเอียดของเรือนหลวง

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วิสา อัศเวศน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Downloads

Published

2010-06-05

How to Cite

อัศเวศน์ ว. (2010). สืบสานวัฒนธรรมการสร้างเรือนหลวง: สายใยแห่งความรักต่อผู้วายชนม์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3, January-June), 13–26. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/904