การพัฒนารูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์ของนิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการพัฒนาชุมชนเมือง โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์ของนิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการพัฒนาชุมชนเมือง โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายคือนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากมีจำนวนน้อย จึงไม่ใช้วิธีการสุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือวิจัยที่ช่วยพัฒนารูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์ 2) แบบสนทนากลุ่มศึกษาผลการใช้รูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์ 3) แบบบันทึกผลการสนทนากลุ่มการใช้รูปการศึกษาภาคนิพนธ์ และเครื่องมือวิจัยที่ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบได้แก่ แบบประเมินความรู้ ทักษะ และเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาชุมชนของนิสิตและของอาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยตนเอง และการวิเคราะห์ข้อมูล 1) เชิงปริมาณ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยสถิติที (t-dependent test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) รูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ (1) ปัญหาและความต้องการจำเป็น (2) หลักการของรูปแบบ (3) วัตถุประสงค์ (4) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (5) สาระในรูปแบบ (6) กิจกรรมการเรียนรู้ (7) การวัดและประเมินผล และ (8) แหล่งเรียนรู้ และ 2) รูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์มีประสิทธิผลดังนี้ 1) ก่อนใช้รูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์ของนิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการพัฒนาชุมชนเมือง โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ นำร่องรอบที่ 1 และรอบที่ 2 นิสิตมีความรู้อยู่ในระดับต้องปรับปรุง ทักษะอยู่ในระดับต้องปรับปรุง และเจตคติอยู่ในระดับต้องปรับปรุง มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า หลังใช้รูปแบบ มีความรู้อยู่ในระดับดีมาก มีทักษะอยู่ในระดับดี และมีเจตคติอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 2) อาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ มีความรู้อยู่ในระดับดี ดี และดีมาก ตามลำดับ มีทักษะอยู่ในระดับดี ดี และดีมาก ตามลำดับ และเจตคติอยู่ในระดับดี ดี และดีมาก ตามลำดับหลังใช้รูปแบบทั้งสามรอบ และ 3) อาจารย์ที่ปรึกษาภาคนิพนธ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อคุณภาพภาคนิพนธ์ของนิสิต ส่วนนำ ส่วนหลัง และภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก ยกเว้นส่วนเนื้อหาอยู่ในระดับดี หลังใช้รูปแบบทั้งสามรอบคำสำคัญ: รูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต การวิจัยปฏิบัติการThis research aims to develop and study the effectiveness of the term paper study model of students majoring in urban community development, Bachelor of Art, by using action research. The target groups, students and an advisor, of the research were the same groups due to the small number of the population and sample. There were two research tools. The First tool was a model developing tool including 1) the term paper study model, 2) a form of focus group after employing the term paper study model, and 3) a form of recorded focus group after employing the term paper study model. The second tool was an evaluation tool of the effectiveness of the model including evaluation forms of knowledge, skills, and attitude towards action research on community development of students and the advisor. All tools were validated by the experts. The researcher collected both quantitative and qualitative data. The quantitative data was analyzed by frequency, percentage, means, standard deviations, and t-dependent test at the significant level of .05. The qualitative data was the content analysis.The results found that the term paper model included 1) problem and need, 2) principles of the model, 3) objectives, 4) expected learning outcomes, 5) contexts, 6) learning activities, 7) measurement and evaluation, and 8) learning center. Moreover, the effectiveness of the term paper study model included, firstly, before employing the term paper study model of the students majoring in urban community development, Bachelor of Art, by using thefirst and second round of the pilot action research, the students had the knowledge at the need-to-be-improved level, the skill at the need-to-be improved level, and the attitude at the need-to-be improved level. The means was lower than that of after employing the model which the students had the knowledge at the very good level, the skill at the very good level, and the attitude at the moderate level. The means of before and after employing the model were different at the significant level of .05. Secondly, the adviser had knowledge at the very good, very good and excellent levels, the skill at thevery good, very good and excellent levels, and the attitude at the very good, very good and excellent levels consecutively. Finally, the advisor had the means of opinions towards the quality of the term paper on introduction and conclusion parts and overall at the excellent level, except the context part at the good level after employing all three rounds.Keywords: Term Paper Study Model, Curriculum of Bachelor of Arts, Action ResearchDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2017-07-05
How to Cite
ศรีสังข์ พ. (2017). การพัฒนารูปแบบการศึกษาภาคนิพนธ์ของนิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการพัฒนาชุมชนเมือง โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(17, January-June), 107–119. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/9017
Issue
Section
บทความวิจัย