ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา การจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Authors

  • ปวีณา งามประภาสม มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและแบบสอบถามผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีความสัมพันธ์กันในทางบวก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการในด้านที่ความสัมพันธ์สูงกว่าปัจจัยด้านอื่น เรียงตามลำดับ คือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน อยู่ในระดับสูงที่สุด (R=0.241) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (R=0.231) ปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพ (R=0.216) ปัจจัยด้านการรับรู้ (R=0.152) และปัจจัยด้านการสร้างเครือข่าย อยู่ในระดับต่ำที่สุด (R=0.131) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้การท่องเที่ยวของชุมชนเมาะหลวงเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีดังนี้ 1) ส่งเสริมงบประมาณและองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการจากหน่วยงานภายนอก เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน กองทุนของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นต้น 2) การดำเนินการด้านสิทธิในที่ดินทำกิน เพื่อสามารถกู้ยืมเงินเพื่อการจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก 3) มีการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ 4) ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 5) จัดฝึกอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์น้อย 6) จัดทำแผนที่แสดงจุดท่องเที่ยวที่ชัดเจน 7) จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม 8) เชื่อมประสานการดำเนินงานกับชุมชนท่องเที่ยวใกล้เคียงเพื่อศักยภาพในการบริหารจัดการท่องเที่ยวคำสำคัญ: ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว  การจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนThe emphasis of this research is study of factors which affected to and improvement for the ability of tourist place management. Using qualitative research and quantity through interviews, group discussions and questionnaire.The research found that the factors effecting the efficiency of this management are the support from government, individual private, and people (0.241), the second is cooperation (0.231), the third is ability development (0.216), the fourth is recognition (0.152) and the last is significant network (0.131). The guideline is to make this management success and be ability should be done by these steps; 1) Supported about the budget and variety of management knowledge such as local government, individual private, Mae Moh electrical plant fund. 2) The villager should have right in their own land for doing their activities, supporting tourism, and they can take on loan for making the foreigner convenience entertainment. 3) To adapt and development in regularly 4) To have more activities to villagers and make them have more cooperation. 5) To have a guide kids training 6) To make a map shown the important place 7) To have learning centre in community and fair development for the extreme advantage. 8) Supporting and interfacing to the communities around or the other.Keywords: Factors effecting tourist place management, Community base Tourism Management

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ปวีณา งามประภาสม, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 

Downloads

Published

2017-01-25

How to Cite

งามประภาสม ป. (2017). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา การจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(16, July-December), 78–87. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/8401