ทัศนะเกี่ยวกับพระสงฆ์และข้าราชการ ในนวนิยายของวิมล ไทรนิ่มนวล (VIEWPOINT TOWARD BUDDHIST MONKS AND GOVERNMENT OFFICIALS IN WIMON SAINIMNUAN’S NOVELS)

Authors

  • ภัทรขวัญ ทองเถาว์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษานวนิยายเรื่อง งู และเรื่อง โคกพระนาง ของวิมล ไทรนิ่มนวล เพื่อแสดงให้เห็นทัศนะของผู้เขียนที่มีต่อพระสงฆ์และข้าราชการ ผลการศึกษาพบว่า ผู้เขียนเสนอทัศนะที่มีต่อพระสงฆ์ว่าไม่สามารถเป็นพึ่งของพุทธศาสนิกชนได้ อาศัยความศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการฉกฉวยทรัพย์สินและผลประโยชน์ ซึ่งพฤติกรรมของพระสงฆ์ในเรื่องไม่ต่างจาก "งูสีเหลือง" ส่วนทัศนะที่มีต่อข้าราชการ ข้าราชการมีพฤติกรรมใช้อำนาจในการข่มเหงและฉ้อโกงประชาชน ซึ่งลักษณะของข้าราชการในเรื่องผู้เขียนเปรียบว่ามีพฤติกรรมคล้ายตัว "เหี้ย" นับได้ว่า นวนิยายของวิมล ไทรนิ่มนวล ตีแผ่ให้เห็นด้านลบของบุคคลที่น่าจะเป็นแบบอย่างและที่พึ่งของประชาชนคำสำคัญ: ทัศนะ นวนิยาย วิมล ไทรนิ่มนวลThis article aimed to study Wimon Sainimnuan’s novels to show the writer’s viewpoint toward Buddhist monks and government officials. The results revealed the writer’s viewpoint toward Buddhist monks that they cannot be sanctuary for Buddhists and use people’s faith in Buddhism as a tool to snatch assets and benefits. In his novels, Buddhist monks’ behaviors are like "yellow snake". The writer’s viewpoint toward government official is they use their power to persecute and defraud people. In his novels, he insinuated that government officials’ behaviors are like "monitor lizards". It could be said that Wimon Sainimnuan’s novels disclose the negative of people who should be public’s idols and sanctuaries.Keywords: viewpoint, novels, Wimon, Sainimnuan

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ภัทรขวัญ ทองเถาว์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Downloads

Published

2015-07-04

How to Cite

ทองเถาว์ ภ. (2015). ทัศนะเกี่ยวกับพระสงฆ์และข้าราชการ ในนวนิยายของวิมล ไทรนิ่มนวล (VIEWPOINT TOWARD BUDDHIST MONKS AND GOVERNMENT OFFICIALS IN WIMON SAINIMNUAN’S NOVELS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(14, July-December), 228–237. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/7432