การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้นำตามแนวคิดคติรวมหมู่ของผู้นำชุมชนที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Authors

  • สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อุสา สุทธิสาคร มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลคุณลักษณะผู้นำตามแนวคิดคติรวมหมู่ ผู้เข้าร่วมในการวิจัยคือผู้นำชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีขนาดตัวอย่าง จำนวน 506 คน ได้มาจากการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และมาตรวัดความเป็นผู้นำตามแนวคิดคติรวมหมู่ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยอิงตามการศึกษาของ Hiller, Day และ Vance (2006) และการลงพื้นที่เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองผลการศึกษาพบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองของคุณลักษณะความเป็นผู้นำตามแนวคิดคติรวมหมู่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวบ่งชี้ความเป็นผู้นำตามแนวคิดคติรวมหมู่ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลัก 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้หลักด้านการวางแผน ตัวบ่งชี้หลักด้านการแก้ปัญหา ตัวบ่งชี้หลักด้านการให้การสนับสนุน และตัวบ่งชี้หลักด้านการสอนงานแก่สมาชิกใหม่ โดยมีตัวบ่งชี้ย่อยรวมจำนวน 22 ตัวบ่งชี้คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ แนวคิดคติรวมหมู่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตัวบ่งชี้ผู้นำThe purposes of this research were to develop and validate the indicators of collective leadership in community leaders working with People Networks for Drugs Prevention and Drugs Problem Solving in Bangkok Metropolis. The participants were 506 community leaders in Bangkok area collected through the two stage random sampling techniques. Data were collected by questionnaires and collective leadership scale with high reliability. The research process followed the development of indicators of collective leadership initiated by Hiller, Day, & Vance (2006) and area data collecting. The second order factor analysis was used for analyzing the data.The results found 4 principle indicators of collective leadership which are planning indicators, problem solving indicators, supporting indicators and mentoring indicators, which derived from 22 sub-principle indicators. Furthermore, the results indicated that the collective leadership measurement model of community leaders in Bangkok area was fitted to the empirical data.Keywords: Leadership, Collectivism, Confirmatory Factor Analysis, Leadership Indicator

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อุสา สุทธิสาคร, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ภาควิชาการศึกษาทั่วไป คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Downloads

Published

2015-07-04

How to Cite

วัฒนานนท์สกุล ส., & สุทธิสาคร อ. (2015). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้นำตามแนวคิดคติรวมหมู่ของผู้นำชุมชนที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(14, July-December), 114–123. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/7423