การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวัฒนธรรมชนบทตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย กรณีศึกษา บ้านดงโฮมสเตย์ ตำบลดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี

Authors

  • พัชรี บุญโต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สุพรรณี หงส์สกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ทิชากร เกษรบัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวัฒนธรรมชุมชน โดยศึกษาสภาพ การดำเนินงานของบ้านดงโฮมสเตย์ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย 10 ด้าน ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อบ้านดงโฮมสเตย์ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวัฒนธรรมชนบท (โฮมสเตย์) ตามส่วนผสมทางการตลาด 6 ด้านโดยวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างซึ่งใช้สำหรับเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ประกอบการบ้านพักบ้านดงโฮมสเตย์ จำนวน 11 ครัวเรือน และการสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เข้ามาพักในบ้านดงโฮมสเตย์ ตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย แล้ววิเคราะห์เพื่อวางแนวทางในการพัฒนาบ้านดงโฮมสเตย์ ตามส่วนประสมทางการตลาด 6 ด้านผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมทางการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านการบริการ อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการพบว่าผู้ประกอบได้ดำเนินงานตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยทั้ง 10 ด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านที่พัก ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านความปลอดภัย ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้านและสมาชิก ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม ด้านการสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านการบริหารของกลุ่มโฮมสเตย์ และด้านประชาสัมพันธ์ จึงส่งผลให้ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับสูง สำหรับแนวทางในการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวบ้านดงโฮมสเตย์มี 6 ด้าน ดังนี้ ด้านที่พัก กลุ่มผู้ประกอบการ ควรจะคงความเป็นเอกลักษณ์ในการดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย และสร้างเอกลักษณ์ทางด้านวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบไทยพรวนให้เป็นของชุมชน ด้านราคา กลุ่มผู้ประกอบการควรมีการกำหนดอัตราค่าบริการให้แก่นักท่องเที่ยวแบบเหมา หรือแบบหมู่คณะเพราะนักท่องเที่ยวในปัจจุบันนิยมการท่องเที่ยวเป็นแบบหมู่คณะมากขึ้น ด้านสถานที่ กลุ่มผู้ประกอบการควรมีการจัดมาตรการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อจะชุมชนจะได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สัมผัสวิถีชนบท ด้านการส่งเสริมการตลาด กลุ่มผู้ประกอบการควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์หลายๆ ช่องทาง รวมทั้งจัดทำเว็บไซด์ของตนเอง และสร้างกิจกรรมเฉพาะของกลุ่มเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ด้านบุคลากร กลุ่มผู้ประกอบการควรมีการจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน หรือสหกรณ์ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวัฒนธรรมชนบท และด้านกระบวนการ กลุ่มผู้ประกอบการควรจะมีการวางแผนการให้บริการนักท่องเที่ยวเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้ท่องเที่ยวมั่นใจในการมาท่องเที่ยวคำสำคัญ: ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท มาตรฐานโฮมสเตย์This research is intended to study a rural tourism management. To study the performance of Band Dong Home Stay, problems and thread in the operation on Thai Home Stay 10 standards. To study the satisfaction of tourists and to study the method development for rural tourism (Home Stay) through 6 marketing mix.The operating looked at both quantitative and qualitative. The instruments for data collection were the semi-structured interview conducted with the enterprise at Ban Dong Home Stay included 11 households, and the questionnaires regarding to satisfaction of consumers who stay in the jungle home stay. The second part of the data analyzed for the guiding development Ban Dong Home Stay on 6 marketing mix.The results showed that. the tourists were satisfied with price, place, product, promotion, process and service (people) at high and very high level. For the interview of entrepreneur that were conducted by the Thai Home Stay 10 standards as accommodation, food and nutrition, the hospitality of the owners and members, activity for travel, natural resources and the environment, cultural, creation of value and the value of community product, management of home stay and public relations. It will be resulting to meet tourist’s high satisfaction. For the development of tourism home stay Ban Dong had the following 6 marketing mix. The following aspects of the Entrepreneurs should be unique in a simple way of life and created the unique lifestyle of Thai Phuan in community. The price should be charged to contract review or a group because the group travel is popular in the current. The place should be measures for the conservation of natural resources wherewith the community participate. In order that the community to saw the value of natural resources and conservation to tourism the way of the countryside. The promotion side, Entrepreneurs should increase publicity multiple channels, including a web site of their own and the specific activities of the Group to attract the tourism. The people side, Entrepreneurs should be established community groups or cooperatives that everyone involved in tourism activities to rural culture. And the process side, Entrepreneurs should be planning for same services standard. So that travelers were sure to come.Keywords: rural tourism, Home Stay standard

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พัชรี บุญโต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สุพรรณี หงส์สกุล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ทิชากร เกษรบัว, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Downloads

Published

2015-07-04

How to Cite

บุญโต พ., หงส์สกุล ส., & เกษรบัว ท. (2015). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวัฒนธรรมชนบทตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย กรณีศึกษา บ้านดงโฮมสเตย์ ตำบลดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(14, July-December), 52–63. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/7417