การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนิสิตครูตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม

Authors

  • สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • โอภาส สุขหวาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนิสิตครูตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม (Constructivism) ซึ่งประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้ 2 แนวทาง ได้แก่ 1) การเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Learning) และ 2) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ใช้แบบแผนการทดลองแบบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Design) กับกลุ่มตัวอย่างนิสิตครูชั้นปีที่ 3 ที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2 กลุ่มได้แก่ นิสิตครูวิชาเอกการสอนคณิตศาสตร์ และนิสิตครูวิชาเอกการสอนฟิสิกส์ เครื่องมือวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม 2 แนวทาง ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบสำหรับนิสิตครูวิชาเอกการสอนคณิตศาสตร์ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนิสิตครูวิชาเอกการสอนฟิสิกส์ และ 2) เครื่องมือวัดคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วย แบบทดสอบปรนัยเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบอัตนัยเพื่อวัดทักษะการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามวัดจรรยาบรรณวิชาชีพครูผลวิจัยพบว่า การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนิสิตครูตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม ส่งผลให้ 1) นิสิตครูมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านความรู้หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นิสิตครูมีระดับทักษะการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) นิสิตครูมีคะแนนจรรยาบรรณวิชาชีพครูตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยภาพรวมก่อนเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในภาพรวมและในด้านจรรยาบรรณต่อตนเองและจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ นอกจากนี้นิสิตครูมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อการจัดการเรียนรู้ คือเกิดความรู้ความเข้าใจและมั่นใจในความสามารถของตนในการประยุกต์ใช้ความรู้ในด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ รองลงไปคือ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การเห็นคุณค่าทางด้านวิชาชีพครู และอีกทั้งยังพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร และทักษะทางสังคมจากผลวิจัยดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาชีพครูภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม ว่าควรคำนึงถึงองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ บทบาทของผู้สอน และบทบาทของผู้เรียน โดยที่ผู้สอนต้องมีบทบาท 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ: เตรียมศึกษาหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา วิเคราะห์ผู้เรียน เตรียมสื่อ กิจกรรมและการประเมินผลการเรียนรู้ ระยะดำเนินการจัดการเรียนการสอน: บรรยาย อภิปราย ตั้งคำถาม กรณีศึกษาและการใช้เหตุการณ์ปัจจุบัน กระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ การนำเสนอผลงานและการสะท้อน และการมอบหมายงาน และระยะประเมินผล: ประเมินผลงานกลุ่มและรายบุคคล ประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่มและรายบุคคล การสอบปลายภาคการสอบแบบอัตนัยหรือการสอบให้สร้างผลงาน ส่วนผู้เรียนควรมีบทบาท 2 ส่วนคือ บทบาทในห้องเรียนคือ ฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างกระตือรือร้น ทักษะการทำงานเป็นทีม การตั้งคำถาม การอภิปราย และการนำเสนอผลงาน และบทบาทนอกห้องเรียน คือ ทักษะการแสวงหาความรู้ การวางแผน การใช้เทคโนโลยี การคิดขั้นสูง การนำเสนอและการสะท้อนกลับ เมื่อประสานองค์ประกอบทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์แก่ผู้เรียนในด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการจัดการเรียนรู้ จรรยาบรรณวิชาชีพครู ตลอดจนพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะทางสังคมคำสำคัญ: ทฤษฎีสรรคนิยม การเรียนรู้แบบค้นพบ การเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการจัดการเรียนรู้ จรรยาบรรณวิชาชีพครู รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาชีพครูThe purpose of this research was to study the effect of enhancing learning management quality under Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF:HEd) for preservice teachers through Constructivism which comprised discovery learning and cooperative learning. The research was conducted in classroom action research using pretest-posttest design and posttest design with the third year preservice teachers 2 groups selected by purposive sampling: the preservice mathematics teachers were taught through discovery learning, the preservice physics teachers were taught through cooperative learning. Research tools consisted of the discovery learning and cooperative learning lesson plans, the multiple-choice test to measure academic achievement, the subjective test to measure learning management skills, the questionnaire to measure teacher professional ethics and the questionnaire to survey preservice teachers’ opinions towards both approaches.The results shown that; 1) preservice teachers had higher academic achievement than before the experiment at the 0.01 level of significance and higher than the criterion at the 0.05 level of significance both in total and in every aspect, 2) preservice teachers had learning management skills at the good level, which based on the criterion at the 0.01 level of significance, 3) preservice teachers’ pretest scores on Teacher professional ethics passed the criterion but posttest score was higher than before the experiment at the 0.01 level of significance both in total and in ethics towards students and themselves ethics aspect. Furthermore, preservice teachers had positively comments towards discovery learning and cooperative learning such as confidence and deep understanding about writing lesson plans, learning activities design, classroom assessment, self esteem of the teaching profession, teamwork and recognition of the difference opinions, respectively.Keywords: Constructivism, Discovery learning, Cooperative learning, Learning achievement, Learning management skill, Teacher professional ethic, Learning management model of teacher professional course

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สุนีย์ เหมะประสิทธิ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

โอภาส สุขหวาน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-01-31

How to Cite

เหมะประสิทธิ์ ส., & สุขหวาน โ. (2015). การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนิสิตครูตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(13, January-June), 165–186. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/7405