รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (LIFESTYLES AND PURCHASING BEHAVIOR OF WORKING WOMEN AT CONVENIENCE STORES IN BANGKOK METROPOLITAN AREAS)

Authors

  • จิรวรรณ ดีประเสริฐ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Panyapiwat Institute of Management.

Abstract

รูปแบบการการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเพื่อหารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้หญิงวัยทำงาน จำนวน 401 คน และเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์จำนวนผู้ถูกสัมภาษณ์ 20 ราย เพื่อหาพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อของกลุ่มผู้หญิงวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 20-49 ปี ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ดังนี้คือ กลุ่มสาวทันสมัยไร้ขีดจำกัด กลุ่มสาวไทยนักพัฒนา กลุ่มสาว NGO กลุ่มสาวกุลสตรีแท้ และกลุ่มสาวจานด่วน ซึ่งกลุ่มผู้วัยทำงานทั้ง 5 กลุ่ม มีพฤติกรรมการซื้อที่เหมือนกัน ได้แก่ ร้านค้าสะดวกซื้อที่ซื้อสินค้าเป็นประจำ คือ ร้าน 7-Eleven และ Tesco Express ซื้ออาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เข้าไปซื้อเพราะอยู่ใกล้บ้าน ใช้วิธีการจ่ายเงินสด ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้รับผ่านสื่อใบปลิวที่ส่งตามบ้าน ร้านค้าสะดวกซื้อในอุดมคติต้องเป็นร้านค้าที่ให้บริการรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนานในการชำระเงินและเปิดบริการ 24 ชั่วโมง เพียงแต่ว่าแต่ละกลุ่มจะมีจุดเด่นในการซื้อที่แตกต่างกัน ได้แก่ ประเภทของสินค้าที่ต้องการ การคำนึงถึงคุณภาพและราคาที่แตกต่างกัน และความต้องการรายละเอียดข้อมูลการส่งเสริมการขายภายในร้านค้าคำสำคัญ: รูปแบบการดำเนินชีวิต  พฤติกรรมการซื้อ  ผู้หญิงวัยทำงาน  ร้านสะดวกซื้อThe research of Lifestyles and Purchasing Behavior of Working Women at Convenience Stores in Bangkok Metropolitan Areas was a quantitative and qualitative research. To find lifestyles of working women, quantitative methodology was used by distributing 401 questionnaires whereas qualitative one was applied to seek their purchasing behavior at the convenience stores by interviewing 20 working women. The samples were working women who were at the age between 20-49 years. They were categorized into 5 groups: Unlimited Contemporary group, Thai Developer group, NGO Group, Real Gentle Woman Group and Fast Food Girl Group. They also shared the same purchasing behaviors, for example: they normally went to 7-Eleven and Tesco Express 2-3 times a week due to proximity to their home, paid by cash and they knew the store information from leaflets sent to their home. The ideal convenience stores should provide quick service in term of short line of queuing and 24 hour service. They had some outstanding aspects in each group such as demand of different kinds of products, different concept of quality and price and demand of in-store promotion detail.Keywords: Lifestyles, Purchasing Behavior, Working Women, Convenience Stores

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

จิรวรรณ ดีประเสริฐ, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Panyapiwat Institute of Management.

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์Panyapiwat Institute of Management.

Downloads

Published

2015-02-04

How to Cite

ดีประเสริฐ จ. (2015). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (LIFESTYLES AND PURCHASING BEHAVIOR OF WORKING WOMEN AT CONVENIENCE STORES IN BANGKOK METROPOLITAN AREAS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(12, July-December), 59–69. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/5040