การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี

Authors

  • เอื้อพร อ่อนน้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ Rajabhat Rajanagarindra University.
  • สุรัตน์ ไชยชมภู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ Rajabhat Rajanagarindra University.
  • สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ Rajabhat Rajanagarindra University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี 2) คุณภาพผู้เรียน และ 3) การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ สุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลากของครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาและครูแนะแนวและเลือกแบบเจาะจงของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชลบุรี จำนวน 70 โรงเรียน โรงเรียนละ 5 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา 3 คน และครูแนะแนว 1 คน รวม 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และด้านการส่งต่อด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 2) คุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ด้านทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ด้านทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 และด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณมีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ด้วยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 3) การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี ได้แก่ ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข (x4) ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน (x3)ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (x1) และสามารถพยากรณ์โดยรวมได้ร้อยละ  51.10 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้Z Y tot = 6.157 + .419 Zx4 + .221 Zx3 + .181 Zx1คำสำคัญ: การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คุณภาพผู้เรียน นักเรียนโรงเรียนเอกชนThis research aimed to study the management of student assistance system, the student’s quality and the affecting on student assistance system management to student’s quality under the Office of Chonburi Educational Service Area. There was from the rule of three in arithmetic by simple being picked. Drawn by the classroom/advicors guidance teachers and choosen specifically by the administrators in primary level of private school under the office of Chonburi Education service area. There are 70 school, each school has 5 people. There are 1 adrninistrator, 3 classroom advisors and 1 guidance teacher. This sample groups were 350 school administrators, classroom advisors and guidance teachers. The instrument was employed by five–rating–scales questionnaire  and which included statistical analysis by mean, standard deviation (S.D.) and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as followed: 1) The  student assistance system management was at the high level and cach aspects  which were ranked by mean score average 4.30 as student encouragement and  development, individual reference with mean score average 4.20, prevention  and correcting with mean score average 4.14, screening and transferring with mean score average 4.05 and 3.92 respeetively. 2) The student’s quality in  overall and each aspects was at the high level which were ranked as morality, ethics and desirable values with mean score average 4.15, collaborative life  skills, and favorable attitude in career skills with mean score average 3.97, knowledge and skills in core curriculum application with mean score average 3.79, self–learning lover and skill and continuous self–learning with mean score average 3.77, thinking capacity for analytical and aynthetic constructive, critical and systematic thinking with mean score average 3.77 respectively. 3) The  affecting on student assistance system management to student,s quality was declared statistically significant difference at the level of 0.01 and that was able to predict as a whole with 51.10% and also be written by standard score equation as;Z Y tot = 6.157 + .419 Zx4 + .221 Zx3 + .181 Zx1Keywords: Student Assistance System Management, Student’s Quality, Private School Student

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

เอื้อพร อ่อนน้อม, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ Rajabhat Rajanagarindra University.

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์Program in Educational Administration, Faculty of Education, Rajabhat Rajanagarindra University.

สุรัตน์ ไชยชมภู, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ Rajabhat Rajanagarindra University.

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์Program in Educational Administration, Faculty of Education,Rajabhat Rajanagarindra University.

สมหมาย สร้อยนาคพงษ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ Rajabhat Rajanagarindra University.

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์Program in Educational Administration, Faculty of Education,Rajabhat Rajanagarindra University.

Downloads

Published

2014-09-22

How to Cite

อ่อนน้อม เ., ไชยชมภู ส., & สร้อยนาคพงษ์ ส. (2014). การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(11, January-June), 237–247. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/4588