การพัฒนาแบบประเมินตามสภาพจริงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอนแบบโครงงาน (THE DEVELOPMENT OF EVALUATION FORMS FOR THE AUTHENTIC ASSESSMENT OF MATHEMATICS IN PRATHOMSUKSA VI BY PROJECT LEARNING APPROACH)

Authors

  • อุบล หอมชู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • สุวพร เซ็มเฮง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • ชวลิต รวยอาจิณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาคุณภาพของแบบประเมินตามสภาพจริง และผลของการใช้แบบประเมินตามสภาพจริง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอนแบบโครงงาน ขอบเขตของการวิจัยแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เพื่อพัฒนาและศึกษาคุณภาพของแบบประเมินตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ) เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 1 ห้องเรียน ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบประเมินตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลำบุหรี่พวง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร จำนวนนักเรียน 19 คน โดยเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 แบบวัดความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 ค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน 0.95 แบบวัดความมุ่งมั่นในการทำงาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 ค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน 0.93 รวมทั้งแบบบันทึกการตรวจงาน ใบงาน และแบบประเมินความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ของแบบประเมินตามสภาพจริงสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า1. แบบประเมินตามสภาพจริงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอนแบบโครงงาน มีค่าความเที่ยงตรง อำนาจจำแนก ความยากง่าย ความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีค่าความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ในการนำแบบประเมินตามสภาพจริงไปใช้ระดับมากที่สุด2. ผลของการใช้แบบประเมินตามสภาพจริงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการสอนแบบโครงงาน พบว่า2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความมุ่งมั่นในการทำงานอยู่ในระดับดี2.2 ความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงงานและการนำเสนอ อยู่ในระดับดี ส่วนทักษะกระบวนการ อยู่ในระดับดีมาก2.3 พฤติกรรมทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับพอใช้ ในการประเมินครั้งที่ 1-2 และมีพฤติกรรมการเรียนอยู่ในระดับดีจากการประเมินครั้งที่ 3-6คำสำคัญ: การพัฒนาแบบประเมินตามสภาพจริง การสอนแบบโครงงานThe purposes of this research were to construct and investigate the quality and the effectiveness of the evaluation forms for the authentic assessment of mathematics in Prathomsuksa VI by Project Learning Approach. The confinement of this research divided into 2 stages, The first stage was to construct and investigate the quality of the evaluation forms. The sample consisted of 40 Prathomsuksa 6 students in one classroom selected by simple random sampling from Watnongchok Pukdeenorased School under Bangkok Metropolitan Administration. Second stage was to investigate the effectiveness of the forms for the authentic assessment of mathematics by Project Learning Approach. The sample consisted of 19 Prathomsuksa 6 students selected by purposive sampling from Lumburaepaung School under Bangkok Metropolitan Administration.The research instruments consisted of teaching plans, the mathematics achievement test with reliability of 0.86, the ability in performing mathematics projects scale with reliability (rxy) of 0.89, and the rater agreement Index (RAI) was 0.95., the work intention test with the reliability of 0.84, the learning behavior observation scale with reliability (rxy) of 0.89, and the Rater Agreement Index (RAI) was 0.93, the assignment record form, and the scale on appropriate/feasibility of authentic assessment form for experts’ judgment.The results revealed that:1. The quality of the evaluation forms for the authentic assessment of mathematics in Prathomsuksa VI by Project Learning Approach according to the validity, difficulty, and reliability were fit in a good level criterion and the appropriateness and feasibility of using authentic assessment forms were found at the highest level.2. The effectiveness of the use of authentic assessment forms in the mathematics Project Learning Approach were:2.1 The mathematics achievement and the work intention of the students were at a good level.2.2 The ability in performing mathematics projects of the students was at a good level. When sub-topics were considered, it was found that students performed very good in process skill ability while ability in knowledge about the project and presentation process were at good level.2.3 The students learning behavior was at the fairly good level when using observation form at the first and second time. The behavior was found at the good level in the third to sixth time of observation.Keywords: The Development of Evaluation Forms for the Authentic Assessment, Project Learning Approach

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อุบล หอมชู, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of Educational Measurement, Faculty of Education, Srinakharinwirot University.

สุวพร เซ็มเฮง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of Educational Measurement, Faculty of Education, Srinakharinwirot University.

ชวลิต รวยอาจิณ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of Educational Measurement, Faculty of Education, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2014-09-22

How to Cite

หอมชู อ., เซ็มเฮง ส., & รวยอาจิณ ช. (2014). การพัฒนาแบบประเมินตามสภาพจริงในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสอนแบบโครงงาน (THE DEVELOPMENT OF EVALUATION FORMS FOR THE AUTHENTIC ASSESSMENT OF MATHEMATICS IN PRATHOMSUKSA VI BY PROJECT LEARNING APPROACH). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(11, January-June), 223–236. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/4587