การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์และแบบฝึกคณิตศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวกและความสุขที่เกิดขึ้นจากการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางสติปัญญาต่างกัน
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวกและความสุขที่เกิดขึ้นจากการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางสติปัญญาต่างกันระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์และแบบฝึกคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จำนวน 60 คน จับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์ จำนวน 30 คน และกลุ่มทดลอง 2 ได้รับจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกคณิตศาสตร์ จำนวน 30 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการการเรียนรู้โดยใช้เกมคณิตศาสตร์ แผนการจัดการการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบวัดทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวกและแบบสังเกตพฤติกรรมความสุขที่เกิดขึ้นจากการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบเวลซ์และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมสองทางผลการวิจัยพบว่า1. ทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวกของกลุ่มที่จัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์และแบบฝึกคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสามารถทางสติปัญญาต่างกัน ไม่แตกต่างกัน โดยที่ทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวกของกลุ่มที่จัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์และแบบฝึกคณิตศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน ส่วนทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวกของนักเรียนที่มีระดับสติปัญญา 50-70 และนักเรียนที่มีระดับสติปัญญา 35-49 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.052. ความสุขที่เกิดขึ้นจากการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่างกัน ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกคณิตศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน และนักเรียนที่มีระดับสติปัญญา 50-70 กับนักเรียนที่มีระดับสติปัญญา 35-49 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์และแบบฝึกคณิตศาสตร์มีความสุข แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มที่จัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์มีความสุขสูงกว่าแบบฝึกคณิตศาสตร์คำสำคัญ: ทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวก ความสุขที่เกิดขึ้นจากการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถทางสติปัญญาต่างกันThe purpose of this research was to compare a calculation skill-addition-and happiness of Prathomsuksa 4 students with different intelligence quotient, using mathematics games and exercises. The sample group consisted of 60 Prathomsuksa 4 students at Suphanburipanyanukul school. Drawn by lots, it was divided into two experimental groups containing 30 students each. The first one was taught by mathematics games for 20 hours, while the latter by exercises with the same duration. The research instruments included a set of lesson plans using mathematics games, a set of lesson plans using exercises, a calculation skill test, and a happiness observation form. The research design was pretest - posttest with nonequivalent groups. Statistical analysis was performed in terms of Welch-ANOVA and Two-way ANCOVA.The results of this study revealed as follows:1. The calculation skill on the lesson of Addition of the students with different intelligence quotient taught by mathematics games and exercises was not different. In other words, The calculation skill of those taught by games and that of the group taught by exercises was not different. However, The calculation skill of the students with an IQ. of 50-70 and that of the students with an IQ. of 35-49 was different with a statistically significant level of 0.05.2. Happiness caused by studying mathematics of the students with different intelligence quotient taught by mathematics games was different with a statistically significant level of 0.05. However, happiness found after studying mathematics of the students taught by exercises was not different. Nevertheless, happiness found in the group with an IQ. of 50-70 and that of the group with an IQ. of 35-49 who studied mathematics using games and exercises was different with a statistically significant level of 0.05. Happiness found in the group taught by games was higher than the other group by exercises.Keywords: Calculation Skill–Addition, Happiness, Different Intelligence QuotientDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-09-22
How to Cite
วัฒนวงค์ ว. (2014). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมคณิตศาสตร์และแบบฝึกคณิตศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวกและความสุขที่เกิดขึ้นจากการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางสติปัญญาต่างกัน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(11, January-June), 163–174. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/4582
Issue
Section
บทความวิจัย