การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามแนวทางทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

Authors

  • กมลวรรณ ประภาศรีสุข มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • ระวีวรรณ พันธ์พานิช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และความสามารถของปัจจัยสาเหตุที่ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อศึกษาขนาดของผลกระทบในปัจจัยเชิงสาเหตุแต่ละปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย นิสิตระดับปริญญาเอก และนิสิตระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่กำลังศึกษาในภาคต้น ปีการศึกษา 2554 จำนวน 4 คณะ จำนวน 615 คน เป็นนิสิตปริญญาโท 495 คน และนิสิตปริญญาเอก 110 คน ซึ่งได้มาจากเทคนิคการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 8 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบสอบถามวัดเจตนาเชิงพฤติกรรมในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบสอบถามวัดทัศนคติเกี่ยวกับการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบสอบถามวัดความเชื่อและการประเมินความเชื่อเกี่ยวกับการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบสอบถามวัดการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบสอบถามวัดความเชื่อเกี่ยวกับทัศนคติของกลุ่มอ้างอิงและแรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบสอบถามวัดการรับรู้ความสามารถในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แบบสอบถามวัดความเชื่อเกี่ยวกับปัจจัยควบคุม และการรับรู้อำนาจของปัจจัยควบคุมในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.894, 0.820, 0.916, 0.672, 0.872, 0.888, 0.752, 0.911 ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Linear Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า1. โมเดลสาเหตุของพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2=562.27, df=246, p-value>0.05, X2/df=2.286, RMSEA=0.046, SRMR=0.0344, GFI=0.936, AGFI=0.902, CN=327.261)2. พฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับผลกระทบรวม (Total effect) สูงสุดจากการรับรู้ความสามารถในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (PBC) รองลงมาคือ เจตนาเชิงพฤติกรรมในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (I) เท่ากับ 0.604 และ 0.543 ตามลำดับ และได้รับผลกระทบทางตรง (Direct effect) จากเจตนาเชิงพฤติกรรมในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (I) สูงสุด รองลงมาคือการรับรู้ความสามารถในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (PBC) เท่ากับ 0.543 และ 0.353 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบทางอ้อม (Indirect effect) จากการรับรู้ความสามารถในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (PBC) สูงที่สุด รองลงมาคือทัศนคติเกี่ยวกับการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (AB) ซึ่งตัวแปรทั้ง 2 ตัวได้ส่งผลกระทบทางอ้อมมายังพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านเจตนาเชิงพฤติกรรมในการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ และมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.251 และ 0.211 ตามลำดับ โดยที่ตัวแปรแฝงเชิงสาเหตุทั้ง 3 ตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ได้ร้อยละ 73.30คำสำคัญ: พฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนThe objective of this research as following 1) To learn the consistency of a cause model relate to electronic journal of graduate studies program developed by Empirical data and the cooperated ability to predict on electronic journal of graduate studies program 2) To determine the scale of each cause factor contributed to electronic journal of graduate studies program.The sample group using in this research are graduate studies program of Srinakharinwirot University attending in first semester of 2554 for 615 persons with sampling by Multi-stage Random technique. The research was precheded through the questionnaires, which were created according to the Theory of Planned Behavior, comprising with 8 subjects; a questionnaire to study electronic journal Behavior, a questionnaire to study Behavioral Intention, a questionnaire to study Attitude toward electronic journal, a questionnaire to study Beliefs and Beliefs evaluation of electronic journal, a questionnaire to study Subjective Norm of electronic journal, a questionnaire to study Normative Belief and Motivation to comply with electronic journal, a questionnaire to study Perceived behavioral control, a questionnaire to study Control beliefs and Received power of control factors in electronic journal. Reliability of each questionnaire was 0.894, 0.820, 0.916, 0.672, 0.872, 0.888, 0.752 and 0.911 respectively. The data were analyzed by using Linear Structural Equation Modeling (SEM) analysis technique. This research shows the results as follows.1) Causal model of electronic journal of graduate studies program to the empirical data (X2=562.27, df=246, p-value>0.05, X2/df=2.286, RMSEA=0.046, SRMR=0.0344, GFI=0.936, AGFI=0.902, CN=327.261).2) Electronic journal behavior was most effect by Perceived behavioral control, Secondarily is caused by Behavioral Intention, Perceived behavioral control and Attitude toward electronic journal. The total effects is valued 0.604, 0.543 respectively. And perceived was most direct effects by Behavioral Intention, Secondarily is Perceived behavioral control and Attitude toward electronic journal. These three indirect effects send to electronic journal behavior by past Behavioral Intention. These three Cause Latent Variables mutually show Between-Group Variance of electronic journal behavior as 73.30 percent. Subjective Norm.Keywords: Electronic Journal, Structural Casual Relationship, Theory of Planned Behavior

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กมลวรรณ ประภาศรีสุข, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of Educational Research and Statistics, Faculty of Education, Srinakharinwirot University.

เสกสรรค์ ทองคำบรรจง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Education, Srinakharinwirot University.

ระวีวรรณ พันธ์พานิช, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒFaculty of Education, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2014-09-16

How to Cite

ประภาศรีสุข ก., ทองคำบรรจง เ., & พันธ์พานิช ร. (2014). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามแนวทางทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(11, January-June), 1–13. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/4569