การกำจัดสารพิษออกจากร่างกายด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด ณ ชุมชนศีรษะอโศก (NATURE MODIFICATION IN DETOXIFICATION AT SRISA ASOKE)

Authors

  • Unuea Singkam Ubon Ratchathani University.

Abstract

บทความนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการกำจัดสารพิษ (Detoxification) ออกจากร่างกายด้วยวิธีธรรมชาติบำบัดสารพิษ (Toxins) เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในร่างกายของมนุษย์ การสะสมสารพิษ เช่น อนุมูลอิสระ (free radicals) โคเลสเตอรอลไม่ดี (LDL-Low Density Lipoprotein) ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) น้ำตาลในเลือดที่มีปริมาณสูง (high blood sugar levels) และภาวะที่เคร่งเครียดทางจิตใจไว้มากๆ ถ้าไม่กำจัดออกไปให้ทันท่วงทีย่อมเป็นการเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิด ชุมชนศีรษะอโศกได้จัดตั้งโครงการอบรมการฟื้นฟูสุขภาพโดยอาศัยหลักการสร้างเสริมสุขภาพด้วย “หลักสุขภาพองค์รวม 8 อ.” ซึ่งประกอบด้วย (1) การดำรงตนด้วยอิทธิบาท 4 (2) การมีอารมณ์ดี (3) การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนะ (4) การหายใจด้วยอากาศบริสุทธิ์ (5) การออกกำลังกายที่พอเหมาะ (6) การเอนกายพักผ่อนหลับนอนที่พอควร (7) การเอาสารพิษออกจากร่างกาย และ (8) การประกอบอาชีพที่สุจริต ผู้เข้าอบรมในโครงการนี้จะได้รับการล้างพิษหรือเอาพิษออกจากร่างกายเป็นอันดับแรกโดยการงดรับประทานอาหารที่ย่อยยากแต่รับประทานอาหารที่เป็นน้ำ เช่น ซุปผัก น้ำผลไม้ และน้ำสมุนไพร ต่อจากนั้นก็จะได้รับการล้างพิษในลำไส้ ไต ตับ และถุงน้ำดี การล้างพิษในลำไส้มี 2 วิธี คือการสวนลำไส้ด้วยน้ำกาแฟหรือน้ำสมุนไพร และการกินอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย การล้างไตใช้วิธีดื่มน้ำสะอาดและน้ำสมุนไพรตามที่กำหนด การล้างพิษออกจากตับและถุงน้ำดี ใช้วิธีออยพูลลิ่ง คือ การดื่มน้ำมันมะกอกผสมกับน้ำมะนาว สารพิษจะถูกขับออกจากร่างกายในลักษณะต่างๆ เช่น สารพิษจากลำไส้จะถูกขับออกมากับอาหารเก่าที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ สารพิษจากไตจะถูกขับออกมากับน้ำปัสสาวะ สารพิษจากตับจะถูกขับออกมาเป็นก้อนไขมันผสมกับเซลล์ของเม็ดเลือดแดง และสารพิษที่ถูกขับออกมาจากถุงน้ำดีจะอยู่ในก้อนนิ่ว การอบรม ณ ชุมนุมศีรษะอโศกใช้เวลา 5 วัน นอกจากได้รับการล้างพิษ ผู้อบรมได้เรียนรู้วิธีรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของตัวเองคำสำคัญ: สุขภาพ การล้างพิษ แพทย์ทางเลือก สุขภาพองค์รวมThis article offers nature modification in detoxification at Srisa Asoke. Toxins are poisonous substances created by environment that are outside and inside human body. Accumulation of high levels of toxins in the body such as free radicals, LDL (Low Density Lipoprotein), Triglyceride, high blood sugar levels and mental stresses, if it is not removed out appropriately, will result in high risk of illness. The Srisa Asoke Community has set up a program to improve health of its members and teach them how to live their healthy life. The program applies the principle of eight integrated elements of healthy Living: empowerment, positive attitudes, quality nutrition, fresh Air, fitness, resting, detoxification and vocation. Participants will be first treated with detoxification by withdrawal from eating hard digested food, only vegetable soup, fruit juice and herbal juice are allowed. Then they will gradually consume vegetarian food and participate in activities as scheduled. Detoxification aims at removing toxins in colon, kidneys, livers and gallbladder. Colon detoxification involves 2 techniques: inducing an enema by using a coffee solution and consuming food enriched with fibers. Drinking ample of liquid such as fruit juice, herbal juice and fresh water is a way of kidney detoxification. Detoxification of livers and gallbladder employ oil pulling. Toxic substances removed from colon are in residue of old food and indigested matter. Urine usually removes toxins from the kidneys. Toxins from livers are in forms of fat and dead blood cells. Toxins from gallbladder usually form themselves into stones. In addition to detoxification, participants learn to take care of their physical and mental health.Keywords: Health, Detoxification, Alternative Medicine, Holistic health

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

Unuea Singkam, Ubon Ratchathani University.

สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Downloads

Published

2013-10-24

How to Cite

Singkam, U. (2013). การกำจัดสารพิษออกจากร่างกายด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด ณ ชุมชนศีรษะอโศก (NATURE MODIFICATION IN DETOXIFICATION AT SRISA ASOKE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(10, July-December), 161–173. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/3526