ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนของจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน (FACTORS OF PERSONNEL AND MANAGEMENT AFFECTING STRATEGIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN UPPER NORTHERN PROVINCIAL SCHOOLS)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เรื่องปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำ กลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนของจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำกลยุทธ์ โดยจำแนกตามเพศ คุณวุฒิ และประเภทของโรงเรียน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารจัดการกับภาวะผู้นำกลยุทธ์และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารจัดการที่สามารถพยากรณ์ภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนของจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารโรงเรียน และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนนานาชาติ ในจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ปีการศึกษา 2551 รวม 750 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) หลังจากนั้นทำการแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างข้อมูลเชิงปริมาณ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลวิจัยพบว่า ระดับของภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยจำแนกตามเพศพบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามคุณวุฒิและประเภทของโรงเรียนพบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ประสบการณ์การบริหาร ประสบการณ์การฝึกอบรม และปัจจัยการบริหารจัดการ ได้แก่ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และการบริหารเวลา มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(โดยที่ประสบการณ์การบริหารและประสบการณ์การฝึกอบรมมีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนระดับปานกลาง การบริหารเวลามีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนระดับสูง การบริหารการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนระดับสูงมาก) และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ประสบการณ์การบริหาร ประสบการณ์การฝึกอบรม และปัจจัยการบริหารจัดการ ได้แก่ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และการบริหารเวลา ร่วมกันพยากรณ์ต่อภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.87 หรือสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 87 นอกจากนี้ ผลจากการสัมภาษณ์ สามารถสรุปภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมีความสามารถทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ การใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์ การใช้แรงจูงใจ มนุษยสัมพันธ์ การสื่อสารและการเจรจาต่อรอง การแก้ปัญหาและการตัดสินใจคำสำคัญ: ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการบริหารจัดการ ภาวะผู้นำกลยุทธ์The objectives of this research were to compare strategic leadership which classified by sex, qualification and school type; to study relationships between personnel and management factors with strategic leadership; and to study personnel and management factors which can predict the strategic leadership of School administrators in upper northern provincial schools. The samples consisted of 750 school administrators, school assistant administrators and teachers under the office of educational service area, private schools and international schools in upper northern provincial schools, year 2008. The sample size was done by Taro Yamane. After that, the stratified random sampling was done by using school types as stratra. The data were collected by questionnaire, content analysis for qualitative data and unstructured interview. SPSS program for window was used for quantitative data analysis. The research resulted showed that the level of strategic leadership of school administrators in upper northern provincial schools was at high level. The comparisons of strategic leadership of school administrators in upper northern province schools by sex, as a whole and individual aspects, revealed no significant differences. On the other hand, the comparisons of strategic leadership of school administrators in upper northern province school by qualification and school type, as a whole and individual aspects, were statistical significant differences at 0.01 and 0.05 respectively. The personnel factors such management experience, training experience and management factors such change management and time management have relationship with strategic leadership of school administrators at the statistical significant level of 0.01. The management experience and training experience showed moderate level of relationship with of strategic leadership of school administrators. Time management showed a high level of relationship with of strategic leadership of school administrators. Change management showed a highest level of relationship with of strategic leadership of school administrators. In addition, the personnel factors such experience management, training experience and management factors such time management and change management could mutually predict strategic leadership of school administrators in upper northern provincial schools with value of R2 = 0.87 or 87% of prediction ability. Moreover, the interview results can be concluded into 6 keys components of strategic leadership of school administrators as following: 1) Create strategic plans 2) Support strategic thinking 3) Support motivation 4) Personnel relationship 5) Effective communication and negotiation 6) Problem solving and decision making.Keywords: strategic leadership, school administratorsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-09-30
How to Cite
เทพแสง ส., & แสวงศักดิ์ ท. (2012). ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนของจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน (FACTORS OF PERSONNEL AND MANAGEMENT AFFECTING STRATEGIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN UPPER NORTHERN PROVINCIAL SCHOOLS). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(supplement 1, January), 201–210. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/2701
Issue
Section
บทความวิจัย