ดนตรีชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงบ้านแม่สาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (MUSIC OF THE KAREN HILL TRIBE AT BAN MAESAN, AMPHOR SISATCHANALAI, SUKHOTHAI PROVINCE)
Abstract
การวิจัยดนตรีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่สาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชน องค์ประกอบของดนตรี และบทบาทดนตรีในพิธีกรรมที่ยังปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังต่อไปนี้ คือ กำหนดรายละเอียดเพื่อทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตและบันทึกผลลงในเทปบันทึกเสียง และบันทึกภาพ รวมทั้งการพูดคุย สอบถาม ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์จากชาวบ้าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพทั่วไปของชุมชนชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านแม่สาน ได้รับการพัฒนาจากทางภาครัฐและเอกชน ทั้งเรื่องการอุปโภคและบริโภค การคมนาคม การศึกษา การปกครอง ทำให้สภาพ ความเป็น อยู่ของชาวบ้านมีความเจริญทัดเทียมกับชาวไทยพื้นราบวิเคราะห์องค์ประกอบของดนตรีชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่สาน โดยวิเคราะห์จากบทเพลงที่ใช้ในงานขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ผู้วิจัยพบว่า ลักษณะของวัฒนธรรมดนตรีคล้ายกับวัฒนธรรมดนตรีของชาวล้านนา เป็นการสืบทอดแบบปากเปล่า (Oral Tradition) ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการสืบทอดมาแต่สมัยใด เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงในพิธีกรรมต่างๆ ในปัจจุบันนี้ มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเสียงเกิดจากสาย (Chordophone) คือ ซึง เครื่องเคาะประเภทท่อน-แท่ง (Idiophones) คือ จหวะ (ฉาบ) โม (ฆ้อง) เครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนัง (Membranophones) คือ เด่อ (กลอง) ระบบเสียงของเครื่องดนตรีดำเนินทำนอง มีแนวโน้มที่สามารถจัดให้อยู่ในลักษณะบันไดเสียงแบบ 5 เสียง (Pentatonic) ลักษณะของเสียงของบทเพลงมีทั้งบทเพลงที่มีเสียงเครื่องดนตรีและเสียงร้อง บทเพลงที่มีเพียงเสียงร้องหรือเสียงเครื่องดนตรี ลักษณะของจังหวะ มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ จังหวะตายตัว (Tempo guisto) และจังหวะอิสระ(Parlando-rubato) ลักษณะของทำนอง มีอยู่ 3 ลักษณะคือ แบบซ้ำตัวโน้ต (Repetition Motion) แบบกระโดดข้ามขั้น (Disjunct Motion) และแบบเรียงตามลำดับขั้น (Conjunct Motion) ลักษณะของพื้นผิว (Texture) เป็นแบบทำนองเดียว (Monophony) ลักษณะคีตลักษณ์ (Form) มี 2 ลักษณะ คือแบบท่อนเดียว (Unitary Form) และแบบสามท่อน (Ternary Form) บทบาทของดนตรีในพิธีกรรมชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่สาน ปัจจุบันนี้ยังคงพบเห็นในพิธีกิจือ (แต่งงาน) ในขบวนแห่สินสอดของของฝ่ายชายมีการร้องเพลงและบรรเลง โม เด่อ จหวะประกอบการเต้นรำ และพิธีแลโอะโคะปะโอะ (งานศพ) ที่มีการขับร้องซอในงานศพเพื่อเป็นการสื่อสารชี้เส้นทางให้กับผู้ตาย ถ้าเป็นวัยรุ่นชายหญิงก็จะเป็นการขับร้องซอในการเกี้ยวพาราสีกันซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่ยังคงมีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดนตรีของชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่สานได้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวชาวกะเหรี่ยงที่มีความสามัคคี ช่วยเหลือกันภายในชุมชนเมื่อมีงานพิธีกรรมต่างๆ และความรักในเสียงดนตรีที่ชาวกะเหรี่ยงจะร่วมกันขับร้องซอ ในงานพิธีกรรมที่สำคัญ การขับร้องถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของวัฒนธรรมดนตรีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงคำสำคัญ: ดนตรีชาวเขา กะเหรี่ยงThis research aims to study the music of the Karen Hilltribe at Ban Maesan, Amphor Srisatchanalai, Sukhothai Province. General conditions of the community, elements of music, and the role of music in religious rites which remain at present are examined. All the details for gathering the data were specified and collected via observation, audio recording, video-recording, as well as inquiry and questionnaires. The results of the research are as follows: 1) The general conditions of Karen Hilltribe at Ban Maesan community are developed by the government and private sectors in term of living standards, transportation, education, and governing bodies. Therefore, their living conditions were equally developed as ordinary Thai people. 2) To analyze elements of Karen Hilltribe at Ban Maesan. It was analyzed by using New Year’s song, (Songkran). The researcher found that the style of music was similar to Lanna music (Northern Thai music). It was inherited by oral tradition without knowing when it originated. Nowadays, there are three kinds of instruments which are used in ceremonies: the first kind is Chordophone called Sueng. The second one is Idiophones which includes Ja-wa (cymbal), and Mo (Kong), and The last one is Membranophones like Der (drum). The sound temperament of these instruments is classified as Pentatonic. The styles of music provide the melody created by both musical instruments and voices as well as the one with either sound. Moreover, there are two features of rhythm which are Tempo guisto and Parlando-rubato. The tones of the melody can be divided into three kinds which are Repetition Motion, Disjunct Motion, and Conjunct Motion. The texture is Monophony. There are two forms: Unitary Form and Ternary Form. 3) The role of music in religious rites is revealed in a wedding ceremony (Ki-Jue). In grooms parade, people sing and play Mo, Der, and Ja-Wa for dancing. There is a Sor folk music played to guide the way for the dead in a funeral ceremony (Lae-O-Kho-Pa-O). In addition, Teenagers also use this kind of music to flirt with the opposite sex. The tradition is thus succeeded from the past to present. The Music of Karen Hilltribe at Ban Maesan reveals their way of life with unity and helpful community. They love music like Sor folk music which can be found in their important ceremonies. Singing is the most important identity of Karen Hilltribe’s musical culture.Keywords: Music Hilltribe, KarensDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-09-30
How to Cite
จีระกมล ว. (2012). ดนตรีชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงบ้านแม่สาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (MUSIC OF THE KAREN HILL TRIBE AT BAN MAESAN, AMPHOR SISATCHANALAI, SUKHOTHAI PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(supplement 1, January), 178–190. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/2699
Issue
Section
บทความวิจัย